Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Bangladesh Opting for Peace Rather Than Nuclear Arms – Thai

บังกลาเทศเลือกสันติภาพมากกว่าการติดอาวุธนิวเคลียร์

การวิเคราะห์โดยNaimul Haq

ธากา, บังกลาเทศ(IDN) – แม้ว่าทั่วโลกจะมีภัยคุกคามด้านการโจมตีนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น แต่บังกลาเทศ – ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ – เลือกที่จะยังคงเป็นประเทศที่สงบสุขมากกว่าการเข้าร่วมสโมสรแห่งอาวุธนิวเคลียร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งชาติซึ่งสนับสนุนเจตจำนงทางการเมืองในการส่งเสริมสันติภาพทั่วโลกและการดำเนินการโดยสอดคล้องกับสนธิสัญญาสันติภาพนิวเคลียร์ระหว่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ความเป็นไปได้สำหรับการโจมตีทางนิวเคลียร์นั้นยังมีอยู่

ตามความคิดเห็นที่แตกต่างแต่เป็นหนึ่งเดียว พวกเขาก็ได้ระบุว่าภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ทั่วโลกได้ลดลง แต่ความเสี่ยงของการโจมตีนิวเคลียร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีประเทศจำนวนมากขึ้นที่ได้รับเทคโนโลยีในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนั้นแล้ว เหล่าผู้ก่อการร้ายยังกระหายที่จะซื้ออาวุธซึ่งมีอำนาจการทำลายล้างสูงดังกล่าวด้วยเช่นกัน

พวกเขากล่าวว่า ตราบใดก็ตามที่อันตรายของภัยคุกคามยังคงมีอยู่ บังกลาเทศก็จะต้องยอมรับต่อการเสริมสร้างระบบข่าวกรองด้านความปลอดภัยแห่งชาติและมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการกระจายรังสีเพื่อให้ตนอยู่รอดจากการโจมตีดังกล่าว

นายพลจัตวา M. Sakhawat Hussain (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยและการป้องกันแห่งชาติ ได้อ้างอิงไปยังปัญหาของ ‘การป้องกันแบบครอบคลุม’ สำหรับนิวเคลียร์ระหว่างจีน-อินเดีย-สหรัฐอเมริกา และบอก IDN ว่า: “บังกลาเทศไม่ได้เป็นประเทศที่ก้าวร้าว และไม่ได้เผชิญกับการโจมตีนิวเคลียร์อย่างน้อยภายในช่วงศตวรรษนี้ ไม่มีภัยคุกคามภายนอกคืบคลานเข้ามาในขณะนี้ แต่แน่นอนว่าเราต่างก็ไม่สามารถทำนายอนาคตได้”

Hussain ได้ตั้งข้อสงสัยถึงเหตุผลเบื้องหลังการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และบอกว่าความฝันใด ๆ ต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้นอาจเป็นการผจญภัยที่มีความเสี่ยงสูงสุด

เขาถามว่า “เราจะโจมตีใคร หรือว่าเราพิจารณาว่าใครเป็นศัตรูของเรา” “ถ้าคุณสังเกตให้ดี คุณจะเห็นว่าโดยทั่วไปแล้วประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเทศที่มีศัตรู เช่น สหรัฐอเมริกามีสหภาพโซเวียตเป็นศัตรูที่ใหญ่ที่สุด อินเดียและปากีสถานก็ได้พัฒนาอาวุธเพื่อต่อสู้กันและกัน เกาหลีเหนือประสบภัยคุกคามจากศัตรูของตนซึ่งก็คือเกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลต่างก็พยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เช่นเดียวกันเนื่องจากพวกเขารู้สึกได้ว่าภัยคุกคามอาจจะมาจากศัตรูอาหรับของตน”

เขายังชี้แจงต่อไปว่า “ตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว หากสงครามอินเดีย-ปากีสถานจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ในทางกลยุทธ์ บังกลาเทศอาจประสบภัยคุกคามเนื่องจากการเผชิญกับกัมมันตภาพรังสีจากการโจมตีด้วยระเบิดที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านของพวกเขา ในกรณีเช่นนี้ เราควรเตรียมพลเมืองของเราให้พร้อมสำหรับความรู้ด้านการอยู่รอดในสภาพรังสี มากกว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับการโต้ตอบต่อการโจมตีนิวเคลียร์ ซึ่งนี่ก็เหมือนกับสิ่งที่ประเทศอื่น ๆ ทำ”

Hussain ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างระบบข่าวกรองด้านนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งเขากล่าวว่ามันเป็นกุญแจสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในทุกวันนี้

นายพล Mohammad Abdur Rashid (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยแห่งชาติได้บอก IDN ว่า: “การเข้าสู่ ‘สโมสรนิวเคลียร์’ ในยุคของการรักษาความปลอดภัยทั่วโลกในทุกวันนี้จะเป็นการลงทุนที่ไร้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในขณะนี้ประเทศบังกลาเทศมีเศรษฐกิจที่เติบโตยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่เราควรฝันที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์”

Rashid ซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริหารของสถาบันการศึกษาด้านความขัดแย้ง กฎหมายและการพัฒนา (ICLDS) ด้วยเช่นกันได้กล่าวว่า: “บังกลาเทศควรพิจารณาการมุ่งเน้นต่อการเผยแพร่กลยุทธ์การอยู่รอดหากอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมสงครามนิวเคลียร์ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้คือการทำให้ประชากรของเราปลอดภัยจากความรุนแรงและเกือบทุกประเทศได้มีวิธีการเตรียมพร้อมของตนเพื่อปกป้องประชากรของตนจากการแพร่รังสีนิวเคลียร์ที่ร้ายแรง”

เรายังเน้นย้ำต่อการเสริมสร้างระบบข่าวกรองเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามนิวเคลียร์ใด ๆ และเตรียมตัวโดยสอดคล้องกันไป “สำนักข่าวกรองที่แข็งแกร่งเป็นเครื่องมือที่ดีในการเตือนภัยคุกคามก่อนหน้า”

M. A. Gofran ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนกล่าวกับ IDN ว่า: “เมื่อโลกได้กำลังค้นหาจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ มันไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ประเทศยากจนอย่างบังกลาเทศจะไล่ตามอาวุธนิวเคลียร์ที่มีราคาแพงมากและไม่ปลอดภัย ในแท้จริงแล้วนิวเคลียร์ไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับสงครามอีกต่อไป และหลังจากที่โลกได้พบเห็นว่าอาวุธแห่งการทำลายล้างสูงนั้นสามารถทำอะไรต่อมนุษยชาติได้บ้างในฮิโรชิมาและนางาซากิ ก็จะไม่มีการโจมตีระเบิดนิวเคลียร์อีกต่อไป”

สำหรับปัญหา การป้องกันแบบครอบคลุม’ Gofran กล่าวว่า: “ยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์ เช่น อินเดียหรือสหรัฐอเมริกาไม่สามารถรับประกัน ‘การป้องกัน’ ได้แม้กระทั่งสำหรับประเทศที่เป็นมิตรกับตน ระเบิดนิวเคลียร์ไม่ใช่เป็นเพียงชิ้นส่วนปืนใหญ่ การตอบโต้ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ต่อประเทศที่เป็นมิตรนั้นก็เหมือนกับการที่ประเทศจำเป็นต้องรับความเสี่ยงต่อการโจมตีระเบิดนิวเคลียร์ต่ขอบเขตประเทศของตนโดยศัตรูของอีกประเทศหนึ่ง และเหตุใดยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์จึงได้กระทำอย่างไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้?”

นักข่าวอาวุโส Afsan Chouwdhury ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของภัยคุกคามของนิวเคลียร์ใด ๆ สำหรับบังกลาเทศ: “เราปลอดภัยเนื่องจากว่าใครจะอยากโจมตีเราด้วยระเบิดนิวเคลียร์?  อินเดียอยู่รอบประเทศเรา และเราจะปลอดภัย ยกเว้นว่าอินเดียจะเป็นผู้โจมตีเสียเองซึ่งนี่ก็แทบเป็นไปไม่ได้ เราไม่ได้แสดงออกในการคุกคามต่อประเทศใด ๆ”

โดยเกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานปัจจุบันและความสามารถในการจัดการเชื้อเพลิง Afsan กล่าวว่า: “พวกเราไม่มีความพร้อมหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการจัดการเทคโนโลยี (อาวุธ) นิวเคลียร์ และเราจะไปโจมตีใคร? ไม่มีเหตุผลใด ๆ ในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้นต่อประเด็นด้านความปลอดภัยของโลกเลย ผมมองว่าไม่มีรัฐบาลใดของบังกลาเทศจะใฝ่หาสิ่งนั้น”

นายพล Mohammad Ali Sikder (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยทางการเมืองกล่าวกับ IDN ว่า: “เราเป็นประเทศที่เป็นมิตรมาตลอด และท่าทีที่เป็นมิตรของเรานั้นฝังรากลึกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของเรามาเสมอ เราไม่เคยสนับสนุนความขัดแย้งในอดีตและเราไม่มีคู่แข่งทางนิวเคลียร์ใด ๆ โดยแท้จริงแล้ว เรามองไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่ควรทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย”

ตามคำกล่าวของ Sikder “ประเทศข้างเคียงซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์– อินเดียและจีน– ได้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเราเสมอมา ในวันนี้ความเป็นไปได้ทางภูมิศาสตร์การเมืองไม่ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามใด ๆ ต่อบังกลาเทศ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องคิดถึงความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ในขณะนี้”

แต่อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า “เราจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถของหน่วยข่าวกรองภายนอกให้ทันสมัยเสมอ สิ่งที่ฉลาดที่สุดที่ควรทำคือการมีเทคโนโลยีทางข่าวกรองขั้นสูงที่ทันสมัย วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ถึงภัยคุกคามที่เป็นไปได้ หากมันเกิดขึ้น”

M. Ali Zulquarnain ประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งบังกลาเทศกล่าวกับ IDN ว่าโครงการนิวเคลียร์ของบังกลาเทศนั้นมีวัตถุประสงค์ด้านสันติตลอดมา

เขากล่าวว่า “BAEC ได้ดำเนินการวิจัย (ส่วนใหญ่ในด้านการแพทย์) อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาได้กระทำโดยสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ BAEC ได้ทำงานในขอบเขตของระบบพลังงานนิวเคลียร์อย่างยั่งยืน แนวคิดเครื่องปฏิกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและการบรรเทาผลของมัน และการวิเคราะห์วงจรเชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สำหรับระบบพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต โดยผ่านทาง INPRO และกิจกรรมนานาชาติและภูมิภาคอื่น ๆ”

เขายังอธิบายต่อไปอีกว่าเขาเชื่อว่าบังกลาเทศอยู่ “ในตำแหน่งที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการใช้งานพลังงานนิวเคลียร์และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมัน เนื่องจากเรามีความชำนาญในกิจกรรมการวิจัยนิวเคลียร์” ประเทศของเรา “มีประวัติศาสตร์ที่ไร้ที่ติในโลกแห่งการใช้งานพลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ เราเป็นผู้ลงชื่อในข้อตกลงนานาชาติเกือบทั้งหมดซึ่งครอบคลุมถึงการไม่ขยายการใช้นิวเคลียร์”

IDN ได้พูดคุยกับผู้คนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม เช่น ครู อดีตข้าราชการและพนักงานเอกชน ผู้สื่อข่าวและนักธุรกิจ พวกเขามีความเห็นในทางเดียวกัน และได้เรียกร้องสันติภาพและปฏิเสธแนวคิดใด ๆ ที่จะเข้าสู่การแข่งขันทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งพวกเขาอธิบายว่ามันไร้สาระ

นักการธนาคารผู้มีประสบการณ์หนึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า “บังกลาเทศเป็นประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็วที่สุดในเอเชียใต้ และความใฝ่ฝันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์จะทำลายการเติบโตนี้อย่างทันที”

อาจารย์ผู้มีประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า: “เริ่มแรก บังกลาเทศสามารถเป็นสมาชิกของสมาคมนิวเคลียร์ได้หรือไม่? มันแพงและไม่ปลอดภัยเกินไป ตามพื้นฐานทั้งสองด้านนี้ บังกลาเทศไม่มีตัวเลือกใด ๆ นอกจากการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน” [IDN-InDepthNews – 25 มิถุนายน 2016]

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top