Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Nuclear Deterrence Policy Gathering Steam in India – Thai

นโยบายการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์เข้มแข็งขึ้นในอินเดีย

โดย สุธา รามาจันทรัน

บังกาลอร์ (IDN) – “แม้อินเดียจะเป็นมหาอำนาจทางนิวเคลียร์แบบไม่เต็มใจนัก การป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ก็จะยังคงมีบทบาทสำคัญในยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของชาติของอินเดียตลอดไม่กี่สิบปีถัดไป” พลจัตวากุรมีต กันวัล ผู้ได้รางวัล Distinguished Fellow ที่สถาบันศึกษาและวิเคราะห์การป้องกันประเทศของอินเดีย (IDSA) กล่าว

ในหนังสือเล่มล่าสุดของเขา ‘Sharpening the Arsenal: India’s Evolving Nuclear Deterrence Policy’ เขาได้อธิบายเหตุผลไว้: “เมื่อศัตรูของอินเดียเชื่อว่าอินเดียมีความมุ่งมั่นทั้งทางการเมืองและการทหารที่จำเป็นและอุปกรณ์ที่จะโต้ตอบการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ด้วยการโต้กลับที่รุนแรงซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมนุษย์ที่ไม่อาจรับได้และความเสียหายทางวัตถุที่ไม่มีอะไรเทียบเท่านั้น ศัตรูจึงจะถูกยับยั้ง”

เป็นเรื่องที่ขัดกับฉากหลังของการรับรู้นี้ที่วันที่ 18 มกราคม อินเดียประสบความสำเร็จในการบินทดสอบ อัคนี-5 ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) พิสัยไกลที่มีศักยภาพอาวุธนิวเคลียร์

“นี่เป็นการทดสอบขีปนาวุธครั้งที่ห้าและครั้งที่สามต่อเนื่องกันจากท่อเก็บจรวดบนฐานยิงขีปนาวุธเคลื่อนที่บนถนน ภารกิจทั้งห้าครั้งประสบผลสำเร็จ” รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (MoD) ของอินเดียกล่าวเสริมในแถลงการณ์ว่าสิ่งนี้ยิ่งยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ของอินเดีย

ในขณะที่ อัคนี-1 และ 2 ซึ่งมีพิสัยใกล้กว่าถูกพัฒนาโดยคำนึงถึงปากีสถาน อัคนี-5 ถูกคาดหวังว่าจะ “จัดเตรียม การป้องปรามยับยั้งต่อประเทศจีนที่เป็นที่ต้องการอย่างยิ่งให้กับอินเดีย” อัคนี-5 มีพิสัยการโจมตีมากกว่า 5,000 กม. และสามารถส่งหัวรบนิวเคลียร์ไปได้เกือบทั่วประเทศจีน

ความสำเร็จที่แสดงให้เห็นซ้ำ ๆ ของ อัคนี-5 บอกเป็นนัยว่า อัคนี-5 จะถูกรวมเข้าไปในกองบัญชาการทัพยุทธศาสตร์ในไม่ช้า

มันจะเป็น “อีกก้าวหนึ่งของความพยายามของอินเดียในการทำศักยภาพทางขีปนาวุธของตนเองให้ทันสมัย” เจ้าหน้าที่อาวุโสใน องค์กรวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคง (DRDO) บอกกับ IDN โดยเสริมว่าอินเดียได้ “เสริมความเชื่อในการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ของตนเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศอีกครั้ง”

รากเหง้าของความมุ่งมั่นดังกล่าวซึ่งเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่แถลงไว้เมื่อทศวรรษก่อนหน้าถึงการปลดอาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลกสามารถสาวย้อนไปได้ถึงปี 2488 เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงฮิโรชิม่าและนางาซากิ มหาตมะ คานธีได้ประณามการใช้นิวเคลียร์ว่าเป็น “การใช้วิทยาศาสตร์ที่ต่ำทรามที่สุด” การอุทิศตนของอินเดียที่เป็นเอกราชให้กับโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ได้รับอิทธิพลจากการรับรู้อาวุธนิวเคลียร์ว่าเป็นสิ่งผิดศีลธรรม

โดยการติดตามวิวัฒนาการของนโยบายการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียผ่านระยะกว้าง ๆ สี่ระยะ M. V รามานะ ผู้ดำรงตำแหน่ง Simons Chair ในการปลดอาวุธ ความปลอดภัยของมนุษย์และระดับโลกที่สถาบันหลิวเพื่อปัญหาระดับโลกที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย และผู้เขียน The Power of Promise: Examining Nuclear Energy in India บอกกับ IDN ว่าระหว่างระยะที่หนึ่ง ซึ่งก็คือระยะที่ชวาหะร์ลาล เนห์รูเป็นนายกรัฐมนตรี (2490-2507) การอุทิศตนของอินเดียต่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์เข้มแข็งที่สุด

เนห์รู “สนใจอย่างแท้จริงในการทำสิ่งที่ตนสามารถทำได้เพื่อไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์” และมีส่วนช่วยในการเริ่มต้นที่ “มีความสำคัญในระยะยาวสำหรับการปลดอาวุธนิวเคลียร์” เขากล่าว ที่สำคัญ อินเดียภายใต้การปกครองของเนห์รูงดเว้นจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

สิ่งนี้เปลี่ยนไประหว่างระยะที่สอง (2507-2517) หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามชายแดนกับประเทศจีนในปี 2505 และการทดสอบนิวเคลียร์ของจีนที่ Lop Nor ในปี 2507 ประเทศอินเดียเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และทำ “การระเบิดนิวเคลียร์โดยสันติ” ในปี 2517 ในขณะเดียวกัน อินเดียผลักดันการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในระดับโลกในระยะเวลานี้ แต่เป็นเพียง “ความพยายามที่เปราะบาง” ซึ่ง “ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก” รามานะกล่าว

ระยะที่สามของนโยบายการปลดอาวุธของอินเดีย (2517-2541) เริ่มขึ้นและสิ้นสุดลงด้วยการทดสอบนิวเคลียร์ที่โปคะราน โครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย “วิวัฒนาการอย่างช้า ๆ” แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาขีปนาวุธ ปฤถวี และ อัคนี แต่ “มีข้อจำกัดที่ตั้งขึ้นเองในโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย” รามานะชี้

ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี อินทิรา คานธี และบุตรชายและผู้สืบทอด ราชีพ คานธี ทำงานเพื่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์ระดับโลก ในการกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี 2531 ราชีพ คานธีได้เสนอ “แผนดำเนินการเพื่อการนำทางในระเบียบโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์และปราศจากความรุนแรง” ที่มีกรอบเวลา

ต่างจากสามระยะแรก นโยบายการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียระยะที่สี่ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2541 ได้เห็นอินเดียที่มี “ความพยายามที่ไม่มากนักต่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์” รามานะกล่าว ที่สำคัญ อินเดียได้หลีกเลี่ยงการสนับสนุนสนธิสัญญาที่จะจำกัดโครงการอาวุธของตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียหลีกห่างจากการเจรจาที่นำไปสู่การที่สหประชาชาตินำสนธิสัญญาห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่เป็นประวัติศาสตร์มาใช้ในเดือนมิถุนายน 2560

“การพูดคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงการปลดอาวุธที่เกิดขึ้นเป็นแค่การตีสองหน้าเสียส่วนใหญ่” รามานะให้เหตุผล ด้วยเหตุว่ามันประกอบกับการสะสมคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง

มันปรีต เสธิ ผู้เป็น Senior Fellow และผู้นำโครงการความมั่นคงของประเทศที่ศูนย์ศึกษาพลังทางอากาศ (CAPS) ซึ่งมีฐานในนิวเดลีไม่เห็นด้วย ความต้องการปลดอาวุธของอินเดีย “ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง” เธอบอกกับ IDN

“การอุทิศตนของอินเดียที่จะปลดอาวุธและความพยายามในการสร้างการป้องปรามที่น่าเชื่อถือ ซึ่งรวมถึงการใช้งาน อัคนี-5 เป็นสิ่งสำคัญทางความมั่นคงสองประการของอินเดีย” เสธิกล่าว

เมื่อพิจารณาถึง “ประเทศเพื่อนบ้านนิวเคลียร์” แล้ว ประเทศอินเดียไม่เอื้อให้สามารถละทิ้งการป้องปรามได้ในบริบทปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าว ประเทศอินเดียต้องรักษาการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ไว้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็ตระหนักว่าจะเป็นการดีที่สุดสำหรับความมั่นคงของตนในโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ สองสิ่งนี้ไม่ได้เป็นขั้วตรงข้ามกัน เธอประกาศ

ตามที่เสธิกล่าว จนกว่าโลกจะไปถึงการตกลงปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่ผ่านการต่อรองหลายด้าน เป็นสากล และตรวจสอบได้ การแสวงหาการป้องปรามของอินเดียถือเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการบรรลุความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความสำคัญของอาวุธนิวเคลียร์ในยุทธศาสตร์ของสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้งห้า (อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีนและสหรัฐอเมริกา) เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่ง

การทบทวนท่าทีทางนิวเคลียร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เผยให้เห็นว่าสหรัฐยินดีที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อ “เหตุการณ์สุดโต่ง” แม้แต่การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานและพลเรือนที่ไม่ใช้นิวเคลียร์

สิ่งนี้ส่ง “สัญญาณที่แย่ไปยังประเทศอย่างอินเดียและจีน” รามานะกล่าว หากประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธแบบดั้งเดิมต้องลงทุนในอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่า ก็จะทำให้นักวางแผนทางทหารในอินเดียและจีนมีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดคล้าย ๆ กัน

ในอินเดีย มีการเรียกร้องให้ปรับหัวรบนิวเคลียร์ของตนให้ทันมัยและระบบการส่งหัวรบมากขึ้นเรื่อย ๆ

มีสัญญาณว่าอินเดียอาจจะละทิ้งนโยบายการ “ไม่เป็นฝ่ายยิงก่อน” ที่ยึดถือมานานมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้จะทำให้อินเดียยินดียิ่งขึ้นที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์กับปากีสถานก่อนที่อีกฝ่ายจะใช้ เพื่ออีกฝ่ายปลดอาวุธโดยสมบูรณ์เพื่อให้แน่ใจว่าเมืองในอินเดียจะไม่ตกเป็นเป้าการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ของปากีสถาน [IDN-InDepthNews – 06 March 2560]

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top