Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Ulaanbaatar Conference Stresses the Role of Individual States in Nuclear Disarmament Process – Thai

การประชุมที่อูลานบาตาร์เน้นย้ำบทบาทของแต่ละรัฐในกระบวนการการลดอาวุธนิวเคลียร์

โดย Jamshed Baruah

นิวยอร์ก | อูลานบาตาร์ (IDN) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเริ่มต้นการเจรจาหกฝ่ายใหม่ และในขณะเดียวกันก็ได้เห็นด้วยอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (DPRK) โดยตอบสนองต่อการทดลอบนิวเคลียร์ครั้งที่หกและเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดของประเทศดังกล่าวในตอนต้นเดือนกันยายน

ในการเรียกร้องให้มีการเจรจาต่อรองพหุภาคีซึ่งประกอบไปด้วยประเทศจีน DPRK ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐรัสเซียและสหรัฐอเมริกา คณะมนตรีดังกล่าวซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศได้แสดง “ความมุ่งมั่นของตนในการหาทางออกที่สงบสุข มีชั้นเชิงและดำเนินการทางการเมืองต่อสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี”

ปัญหาดังกล่าวยังดึงความสนใจของเราไปยัง การประชุมระหว่างประเทศเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์: ประเด็นทั่วโลกและภูมิภาค (International Conference on Nuclear Disarmament Issues: Global and Regional Aspects)’ ในวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายนประมาณ 10,150 กิโลเมตรห่างจากอูลานบาตอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศมองโกเลียที่อยู่ติดกับจีนในทางทิศใต้และรัสเซียในทางเหนือ

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์กรเอกชนในมองโกเลียซึ่งมีชื่อว่า ‘Blue Banner’ โดยมี Jargalsaikhan Enkhsaikhan เป็นประธาน โดยเขาเป็นอดีตผู้แทนประเทศถาวรต่อสหประชาชาติ มันยังเป็นวันครบรอบ 25 ปีของการริเริ่มของมองโกเลียเพื่อเปลี่ยนอาณาเขตของตนให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แบบรัฐเดี่ยว (NWFZ)

Punsalmaagiin Ochirbat ประธานาธิบดีของมองโกเลียได้ประกาศว่ามองโกเลียเป็น NWFZ และได้ให้คำมั่นว่าจะรับการรับรองสถานะดังกล่าวในระดับสากล โดยเขากล่าวระหว่างการอภิปรายทั่วไปในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน 1992 พร้อมทั้งระลึกถึงบทเรียนในช่วงสงครามเย็น

เป้าหมายของข้อเสนอคือการประกาศต่อโลกอย่างชัดเจนว่ามองโกเลียไม่ได้มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในอาณาเขตของตน และมองโกเลียจะปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อที่จะได้ไม่มีประเทศใด ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ที่ได้รับอนุญาตให้นำอาวุธดังกล่าวเข้ามาในเขตแดนของตนระหว่างสงครามเย็น และมองโกเลียจะเดินหน้าเพื่อได้รับการยอมรับด้านความปลอดภัยจาก NWS (รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์) ทั้งห้า – ซึ่งได้แก่ประเทศจีน สหพันธรัฐรัสเซีย (สหภาพโซเวียตในขณะนั้น) สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งก็ยังเป็นสมาชิกถาวรทั้งห้า (P5) ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

การผลักดันของมองโกเลียในการทำให้สถานะของตนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาตินั้นได้ส่งผลใน Resolution 53/77 D ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1998 ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายของมองโกเลียและกำหนดให้มันเป็นวาระการประชุมสำหรับการประชุมครั้งถัดไป

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2000 ผู้แทนถาวรของมองโกเลียต่อสหประชาชาติ ท่านทูต Enkhsaikhan ได้นำเสนอจดหมายที่ระบุถึงกฎหมายการกำจัดนิวเคลียร์ของมองโกเลีย ซึ่งในขณะนั้นได้รับการเผยแพร่ในชื่อ A/55/56 S/2000/160 – จึงนับเป็นการเสร็จสิ้นการรับรู้ประเทศมองโกเลียในสถานะปลอดอาวุธนิวเคลียร์

การประชุมอูลานบาตาร์ได้ใช้แถลงการณ์ซึ่งอธิบายว่าการเคลื่อนไหวของ SS-NWFZ นั้นเป็นมาตรการระดับชาติอันสำคัญในการยืนยันถึงความปลอดภัยของมองโกเลีย “มันยังเป็นมาตรการระหว่างประเทศแบบใหม่เพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเทาใด ๆ ในโลกใหม่ที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์” ดังที่บันทึกในแถลงการณ์ดังกล่าว

แถลงการณ์ยังกล่าวเพิ่มว่า ในวันนี้ มองโกเลียได้รับการยอมรับจากนานาชาติและได้รับการสนับสนุนต่อนโยบายของตนในการส่งเสริมสถานะการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของตนที่เสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคด้วยวิธีการทางการเมืองและการทูต ผ่านการสนทนาอย่างสม่ำเสมอและการเจรจาบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของรัฐอธิปไตย ความเคารพซึ่งกันและกันและการทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์ร่วม

แท้จริงแล้ว รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ทั้งห้า (P5) – ประเทศจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยเช่นกัน – ได้ออกแถลงการณ์ร่วมในปี 2012 และแสดงความเคารพต่อสถานะของมองโกเลียและสัญญาว่าจะไม่มีส่วนร่วมในการกระทำใด ๆ ที่จะฝ่าฝืนสถานะดังกล่าว

แถลงการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำว่า “คำมั่นสัญญานี้หมายความว่าจะไม่มีประเทศใด ๆ ใน P5 ที่จะพยายามใช้พื้นที่ของมองโกเลียสำหรับระบบอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งรวมถึงการใช้เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง การรวบรวมข่าวกรอง การฝึกอาวุธและวัตถุประสงค์อื่น ๆ”

ผู้เข้าร่วม – ซึ่งไม่ได้มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป – ได้แสดงการสนับสนุนต่อนโยบายมองโกเลียในการทำให้สถานะการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของตนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงสร้างความมั่นคงของเอเชียตะวันออก อีกทั้งต่อความพร้อมของมองโกเลียในการแบ่งปันประสบการณ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการสร้าง NWFZ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

การประชุมดังกล่าวเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม และยังอนุญาตให้นักศึกษารัฐศาสตร์จาก Ritsumeikan University ในญี่ปุ่นเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเซสชั่นเกี่ยวกับบทบาทของแต่ละรัฐในกระบวนการการลดอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็น ‘ร่มปรมาณู’ ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่นจึงไม่เข้าร่วมการเจรจาต่อรองซึ่งปูทางให้สหประชาชาติใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในวันที่ 7 กรกฎาคม

แถลงการณ์ดังกล่าวบันทึกว่า: “มองโกเลียได้แสดงให้เห็นว่าความพยายามของทุกรัฐนั้นมีความสำคัญต่อการสนับสนุนเป้าหมายร่วมในการมีโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ตัวอย่างของมองโกเลียเป็นที่มาของแรงบันดาลใจสำหรับรัฐอื่น ๆ เพื่อที่พวกเขาจะไม่เพียงแต่กล่าวถึงปัญหาที่เป็นความกังวลร่วมผ่านทางการสนทนาและแนวทางใหม่ ๆ แต่ยังจะมีผลต่อรัฐที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ NWFZ ดั้งเดิม (ในแง่ภูมิภาค) เนื่องด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของตนหรือเหตุผลทางการเมืองด้วยเช่นกัน”

Enkhsaikhan กล่าวว่าการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเดินหน้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมสำหรับโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์

กลยุทธ์ดังกล่าวรวมถึงการใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเจรจาต่อรองลดอาวุธนิวเคลียร์ สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนถัดไปทั้งในแง่ตรรกะและและเชิงปฏิบัติ และบทบาทสำคัญของรัฐที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ “มีการอภิปรายที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีของอิหร่านและเกาหลีเหนือใน NPT หรือที่เรียกว่าสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons) และระบบการไม่แพร่ขยายโดยทั่วไป” กล่าวโดย Enkhsaikhan

ในระดับภูมิภาค ผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ผู้เข้าร่วมหลายรายได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการเจรจาต่อรองโดยไม่มีเงื่อนไขระหว่างสหรัฐฯ กับ DPRK โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความตึงเครียดและหยุดการใช้กำลังหรือการคุกคามในการใช้กำลัง

ผู้เข้าร่วมการประชุมบางรายตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาในการเจรจาหกฝ่าย และได้เสนอว่าอาจเป็นการดีในการลองใช้รูปแบบใหม่ในอูลานบาตาร์โดยให้มองโกเลียเข้าร่วมในฐานะรัฐเล็กที่มีนโยบายต่างประเทศที่ดำเนินการอยู่และมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงนิวเคลียร์ และยังมีข้อเสนอแนะว่ามองโกเลียอาจมีบทบาทเชิงบวกภายใต้สภาวะปัจจุบันได้เช่นเดียวกัน

แถลงการณ์ที่ยอมรับโดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทของมองโกเลีย โดยชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าสงครามเย็นจะได้สิ้นสุดลงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลในด้านสันติภาพกลับต่ำกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้สูง

ดังที่แถลงการณ์ชี้ให้เห็น การพัฒนาระบบอาวุธนิวเคลียร์ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องนั้นได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับชุมชนนานาชาติ จำนวนของรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ชนิดใหม่และอาวุธทั่วไปขั้นสูงได้ทำให้ความแตกต่างของอาวุธทั้งสองแบบ และความแตกต่างของอาวุธนิวเคลียร์เชิงกลยุทธ์และอาวุธนิวเคลียร์ที่ไม่ใช้ในเชิงกลยุทธ์ไม่ชัดเจน

ความเป็นไปได้ในการ “ปรับ” อาวุธนิวเคลียร์ให้มีผลอันหลากหลายและการลดเกณฑ์การใช้งานของมันทำให้อาวุธเหล่านี้ “ใช้งานได้” มากขึ้น แถลงการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำว่า “ในสถานการณ์เช่นนี้ การรับประกันอย่างเดียวที่จะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการใช้หรือการคุกคามจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์และสามารถยืนยันว่า ‘จะไม่มีผู้รับเคราะห์จากการระเบิดเพิ่มเติม’ ก็คือการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง”

มันยังกล่าวเพิ่มด้วยว่า: การมีอยู่ของอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดของมัน ไม่ว่าจะด้วยความจงใจ อุบัติเหตุหรือในทางใดก็ตาม ต่างสร้างภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ และจะมีผลอย่างหนักต่อสุขภาพของโลก ความมั่นคงด้านอาหารและสภาพภูมิอากาศโลก รัฐอาวุธนิวเคลียร์มีความรับผิดชอบโดยตรงและสูงสุดในการกำจัดโรงงานสรรพาวุธของตน

อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการประชุมกล่าวว่ารัฐที่ไม่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกันแม้จะไม่ต้องกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ ดังที่เห็นได้จากการยอมรับสนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนกรกฎาคม

“การจัดตั้ง NWFZ เป็นมาตรการระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในการลดอาวุธนิวเคลียร์ ในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ประเทศเหล่านี้ได้เดินหน้าไปไกลกว่าความมุ่งมั่นของ NPT ในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง และได้มีส่วนทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น” กล่าวเพิ่มเติมในแถลงการณ์การประชุมอูลานบาตาร์ [IDN-InDepthNews – 13 กันยายน 2017]

เครดิตรูปภาพ: The Blue Banner

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top