Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

UN High-Level Meeting Reflects Broad Support for Total Nuclear Disarmament – Thai

การประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติสะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางสำหรับการขจัดอาวุธนิวเคลียร์

María Fernanda Espinosa Garcés (centre right), President of the 73rd session of the General Assembly, listens as Secretary-General António Guterres (centre left) addresses the high-level plenary meeting to commemorate and promote the International Day for the Total Elimination of Nuclear Weapons (26 September). At left is Izumi Nakamitsu, Under-Secretary-General and High Representative for Disarmament Affairs (ODA). UN Photo/Ariana Lindquist

โดย Santo D. Banerjee

นิวยอร์ก (IDN) – องค์การสหประชาชาติได้ปฏิบัติตามเป้าหมายในการลดอาวุธนิวเคลียร์มาตั้งแต่การนำมติสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมาใช้ในปี 1946: แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่าประเทศที่เป็นเจ้าของอาวุธนิวเคลียร์นั้นมีเงินทุนแน่นหนาและมีแผนการระยะยาวในการทำให้คลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ของตนทันสมัย ในปี 2013 องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 26 กันยายนเป็นวันสากลแห่งการขจัดอาวุธนิวเคลียร์

สมัชชาใหญ่ได้จัดการประชุมเต็มคณะระดับสูงในวันที่ 26 กันยายน ณ องค์การสหประชาชาติในนิวยอร์กเพื่อระลึกถึงวันดังกล่าว โดยมีพื้นเพเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยทั่วโลกที่ลดลง และเพื่อระดมกำลังในระดับนานาชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นโลกที่ไร้อาวุธนิวเคลียร์

ตลอดวันดังกล่าว ประมุขแห่งรัฐและรัฐบาล อีกทั้งเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากกว่า 50 ประเทศ และรัฐผู้สังเกตการณ์และประชาสังคมได้เสนอประเด็นสู่การประชุมเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่อาวุธนิวเคลียร์ได้ทำให้มนุษยชาติตกอยู่ในอันตราย – ตั้งแต่การที่ประเทศที่มีอำนาจหลักทำให้คลังสรรพาวุธที่ตนมีอยู่ทันสมัยยิ่งขึ้น ไปจนถึงความเสี่ยงของการที่เทคโนโลยีนิวเคลียร์ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้อาจจะตกอยู่ในมือของผู้ก่อการร้าย

หนึ่งในผู้พูดที่มีความโดดเด่นในด้านการแสดงความคิดเห็นอันเต็มไปด้วยความรู้สึกและความแน่วแน่ในการพยายามทำให้โลกปลอดอาวุธนิวเคลียร์ก็คือ Kehkashan Basu ทูตเยาวชนอายุ 18 ปีจากสภาเพื่ออนาคตโลก (World Future Council)

“ฉันกำลังเติบโตอยู่ในโลกที่มีโรงงานผลิตเรือดำน้ำ Trident ในราคา $4 พันล้านต่อลำ ในขณะที่เด็ก ๆ 80,000 คนในประเทศกำลังพัฒนาได้เสียชีวิตในแต่ละวันเนื่องจากความยากจน – และเราสามารถช่วยเด็กเหล่านี้ได้ด้วยอาหารหรือยาที่มีราคาน้อยกว่า 1/10 ของเรือดำน้ำ Trident เพียงลำเดียว” เธอกล่าว

เธอยังดึงความสนใจของสมัชชาไปยังเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ซึ่งประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ปรับใช้ในปี 2015 โดยมีโครงการอันเป็นรูปธรรมในการลดความยากจนและการปกป้องสิ่งแวดล้อม

“แต่รัฐบาลก็ยังทำลายความคืบหน้าต่อไปด้วยการลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านการทหาร ซึ่งรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ แทนที่จะบรรลุเป้าหมาย” เธอกล่าวด้วยความเสียใจเป็นอย่างยิ่งและตระหนักว่าอาวุธนิวเคลียร์สามารถมอบความรู้สึกปลอดภัยให้กับหลายประเทศได้ และบางทีประเทศเหล่านั้นอาจมีบทบาทในการป้องกันสงคราม

“แต่เราเป็นสังคมที่มีอารยธรรมและชาญฉลาดไม่ใช่หรือ? เรารู้วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ป้องกันความก้าวร้าวและบังคับใช้กฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องสร้างภัยคุกคามในการทำลายอารยธรรม” เธอกล่าวเพิ่ม

นอกจากนี้ยังมีการกล่าว “เพื่อพยายามทำให้โลกของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น เที่ยงธรรมยิ่งขึ้น และยุติธรรมยิ่งขึ้น” ในนามขององค์กรรณรงค์นานาชาติเพื่อยุติอาวุธนิวเคลียร์ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons, ICAN) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2017 Ray Acheson จาก Reaching Critical Will ได้ประกาศว่า: “สำหรับเราแล้ว การล้มเลิกอาวุธนิวเคลียร์คือการป้องกันความรุนแรงและการส่งเสริมสันติภาพ”

“บางคนบอกว่านี่คือความฝัน บอกว่าเราอาศัยอยู่ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลง เราจึงไม่สามารถและไม่ควรพยายามกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ในตอนนี้ แต่มีเวลาไหนบ้างที่โลกนี้ปราศจากความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลง? นี่คือความแน่นอนเพียงอย่างเดียวในโลกนี้” เธอตั้งข้อสังเกต

“ที่แท้จริงก็คือเราอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่เราใช้เงินมากขึ้นในการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการฆ่ากันและกัน แทนที่จะหาวิธีช่วยเหลือกันและกันจากวิกฤติด้านสุขภาพ ที่พักอาศัยความปลอดภัยด้านอาหารและการเสื่อมเสียของสิ่งแวดล้อม” เธอกล่าวเพิ่ม “ความจริงอีกอย่างก็คือ หลังจากผ่านไป 73 ปี เราก็ยังคงอยู่ภายใต้ภัยคุกคามระดับหายนะจากระเบิดปรมาณู เราน่าจะแก้ปัญหานี้ได้แล้ว”

เพื่อให้มีความก้าวหน้าในทิศทางดังกล่าว เธอสนับสนุนให้รัฐและนักเคลื่อนไหวทำงานที่สำคัญของตนต่อไป โดยเน้นว่ามีความจริงใหม่ในโลกนี้ ซึ่งก็คือการที่อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และการปฏิเสธอาวุธนิวเคลียร์ การกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และการลงนามในสนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์นั้นเป็นทางเลือกเดียวสำหรับรัฐที่มีความคิดอย่างสมเหตุสมผล

“วิธีการที่แน่นอนวิธีเดียวที่จะกำจัดภัยคุกคามที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ได้ก็คือการกำจัดอาวุธด้วยตัวเอง” Guterres กล่าวในคำกล่าวเปิดของเขาต่อการอภิปรายตลอดวัน และแน่นอนว่าเขาได้รับกำลังขับเคลื่อนจากการเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองนางาซากิในประเทศญี่ปุ่น – ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุของการโจมตีนิวเคลียร์ครั้งที่สองของโลกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 หลังจากเมืองฮิโรชิมา – ในเดือนสิงหาคม 2018 น่าเสียดายที่สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงระดับโลกกำลังทวีความรุนแรงขึ้น “ทำให้ความคืบหน้าในการลดอาวุธนิวเคลียร์นั้นยากขึ้น แต่ก็สำคัญขึ้น” เขากล่าวเสริม

Guterres นึกย้อนถึงกำหนดการในการลดอาวุธที่เขาเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2018 และได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐรัสเซีย – สองประเทศยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้และมีขีปนาวุธรวม 13,800 ชิ้น – ยืดเวลาสนธิสัญญาใหม่เกี่ยวกับการลดและการจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ที่รุนแรง (New Treaty on the Reduction and Limitation of Strategic Offensive Arms, START) ออกไปอีกห้าปี และเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเพื่อลดกำลังคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ของพวกเขาลงอีก เขายังกระตุ้นให้ทั้งสองประเทศทำงานเพื่อแก้ไขข้อพิพาทต่อสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate Nuclear Forces Treaty)

“อีกอย่างที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันก็คือ ทุกรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์จะต้องเสริมสร้างบรรทัดฐานซึ่งต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์” Guterres กล่าวเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบของรัฐในการปฏิบัติตามข้อผูกมัดในการไม่แพร่ขยายอาวุธของตน – ทั้งในทางจิตวิญญาณและอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร –

เขาอธิบายว่าการลดอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธนั้นเป็นสองแง่มุมของเรื่องเดียวกัน – “การถอยหลังในด้านหนึ่งย่อมจะนำไปสู่การถอยหลังในอีกด้านหนึ่ง” – เขากล่าวว่าทุกรัฐควรจะทำงานร่วมกับรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อให้กลับเข้าสู่เส้นทางร่วมในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์

 María Fernanda Espinosa Garcés จากเอกวาดอร์ ประธานสมัชชาใหญ่ในรอบปัจจุบันได้เปิดการประชุมและกล่าวว่าการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ “อาจเป็นความท้าทายด้านการดำรงชีพในยุคของเรา” เธอกล่าวว่ามันจะต้องเป็นความสำคัญหลักขององค์การสหประชาชาติต่อไป และเน้นย้ำว่าการอยู่รอดของมนุษยชาตินั้นขึ้นอยู่กับว่าชุมชนนานาชาติจะตกลงที่จะห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือไม่

เธอกล่าวอ้างถึงการปรับใช้สนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons) ในเดือนกรกฎาคม 2017 และรับทราบว่าบางรัฐสมาชิกยังคัดค้านต่อสนธิสัญญาดังกล่าว แต่เธอกล่าวว่าเธอมีความหวังว่าการอภิปรายในวันที่ 26 กันยายนจะช่วยเปลี่ยนความคิดเห็นของพวกเขา เนื่องจากสนธิสัญญายังคงเปิดรับการลงนามและจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้รับการยอมรับจาก 50 รัฐสมาชิกแล้ว

Aloysio Nunes Ferreira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบราซิลได้อธิบายว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นมรดกแห่งสงครามเย็น และได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่พร้อมใช้งานเนื่องจากเพียงแค่กดปุ่มเดียวก็สามารถกระตุ้นความหายนะในระดับที่ยากจะจินตนาการได้ ตามคำล่าวของผู้เชี่ยวชาญแล้ว มีขีปนาวุธนิวเคลียร์ระดับยุทธศาสตร์มากถึง 1,800 ชิ้นที่พร้อมใช้งาน โดยอยู่ในขีปนาวุธทิ้งตัวทั้งบนบกและทางทะเล ซึ่งพร้อมที่จะยิงได้ในระหว่าง 5 ถึง 15 นาทีหลังจากได้รับคำสั่งให้ยิง

เขายังเรียกร้องให้มีการประชุมเพื่อทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ในปี 2020 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแถลงการณ์โดยรัฐสมาชิกของหน่วยงานห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในละตินอเมริกาและแคริบเบียน (Agency for the Prohibition of Nuclear Weapons in Latin America and the Caribbean) เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับวันสากล และเรียกร้องอย่างจริงจังว่าจะต้องไม่มีการนำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้อีก ไม่ว่าจะโดยผู้ใดหรือภายใต้สถานการณ์ใด

Mohammad Javad Zarif รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านกล่าวว่าโลกกำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขอให้ “ให้ความสำคัญสูงสุด” ต่อการเพิ่มอาวุธนิวเคลียร์ เหตุการณ์นี้และความทันสมัยของคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์โดยรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์กำลังสร้างภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และทำให้เกิดความคับข้องใจมากขึ้นในประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

เราต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้แน่ใจว่าทุกฝ่ายจะยึดมั่นต่อสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธ เขากล่าวพร้อมกับนึกย้อนว่าอิสราเอลไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาดังกล่าว และเน้นย้ำว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิสราเอล “ยังคงเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (Joint Comprehensive Plan of Action, JCPOA) เขากล่าวว่ารายงานฉบับต่อเนื่องของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้รายงานว่าอิหร่านมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างครบถ้วน

Josaia Voreqe Bainimarama นายกรัฐมนตรีประเทศฟีจี สะท้อนมุมมองของผู้นำชาวแปซิฟิกอื่น ๆ ในการเน้นย้ำถึงผลกระทบด้านมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของการทดสอบนิวเคลียร์มากกว่า 300 ครั้งที่ดำเนินการในภูมิภาคตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งดำเนินการโดยประเทศมหาอำนาจที่อยู่ห่างไกลและพิจารณาว่าภูมิภาคแปซิฟิกเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยในการทดสอบการระเบิด

รัฐเหล่านั้นรู้ว่าผลกระทบจะเป็นเช่นใด ดังนั้นพวกเขาจึงเลือกมุมโลกแห่งหนึ่งที่พวกเขาถือว่าโดยทั่วไปแล้วไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ “แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริง” เขากล่าวว่าผู้คนจำนวนมากถูกบังคับให้ย้ายออกจากบ้านของตน และในหลายทศวรรษต่อมา แถบหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีขนาดใหญ่ก็ยังคงไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ การประมงและการเกษตร

John Silk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของหมู่เกาะมาร์แชลล์นึกย้อนถึงประวัติศาสตร์ที่น่ากลัวของประเทศของเขาเนื่องจากระเบิดปรมาณู และเน้นย้ำถึงคำเรียกร้องอย่างเป็นทางการของรัฐบาลของเขาต่อองค์การสหประชาชาติเพื่อยุติการทดสอบการร่วงหล่นต่อผู้ที่หูหนวก

แท้จริงแล้ว สหรัฐฯ ยังคงดำเนินการโครงการดังกล่าว และได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ทั้งหมด 67 ครั้งระหว่างปี 1946 ถึง 1958 ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอันร้ายแรงที่ส่งผลต่อมาจนถึงปัจจุบัน เขาแสดงความหวังว่าการทดสอบจะสิ้นสุดลงลงได้ในที่สุด และรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์จะเข้าร่วมในสนธิสัญญาเพื่อห้ามอาวุธเหล่านั้นและเพื่อกำจัดโลกแห่งระเบิดปรมาณู

Tomoyuki Yoshida อธิบดีของกรมการลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธและวิทยาศาสตร์แห่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเห็นด้วยและแสดงความเสียใจที่ต้องตั้งข้อสังเกตว่าแม้ประชาคมโลกจะมีเป้าหมายร่วมกัน แต่ก็ยังมีขีปนาวุธนิวเคลียร์มากกว่า 15,000 ชิ้นอยู่ทั่วโลก

เขาสนับสนุนให้ทุกรัฐ รวมถึงรัฐที่มีขีปนาวุธ ทำการหารืออย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกันต่อไป เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเดินหน้าในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ผ่านทางความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน เขายังเน้นย้ำถึงความคืบหน้าล่าสุด ซึ่งประกอบไปด้วยการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการลดอาวุธนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี-สหรัฐอเมริกา

“ในฐานะประเทศเดียวที่เคยประสบกับระเบิดปรมาณูในช่วงสงคราม ญี่ปุ่นได้มีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการที่เป็นรูปธรรมและเป็นใช้ได้จริง โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่ไม่ได้ลืมประเด็นด้านมนุษยธรรมของการใช้อาวุธนิวเคลียร์” เขากล่าวและให้ความเคารพต่อความพยายามอันยาวนานของ Hibakusha (ผู้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมาและนางาซากิ) และประชาสังคมที่กระตือรือร้นในการช่วยให้โลกได้ทราบถึงความเป็นจริงของการทิ้งระเบิดปรมาณู

Eloi Alphonse Maxime Dovo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมาดากัสการ์กล่าวในนามของกลุ่มประเทศแอฟริกา และกล่าวว่าสนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่ได้ขัดขวางสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธ แต่กลับทำให้มันสมบูรณ์ เติมแต่งและทำให้ข้อกำหนดในการไม่แพร่ขยายอาวุธนั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีสนธิสัญญาเป็นรากฐานสำคัญ เขาเรียกร้องให้รัฐสมาชิกทั้งหมด – โดยเฉพาะรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่เรียกว่า “ร่มปรมาณู” – ทำการลงนามและให้สัตยาบันในข้อตกลง

เขาแจ้งความห่วงใยของกลุ่มประเทศแอฟริกาในด้านความคืบหน้าอันล่าช้าในกลุ่มรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในการชะลอการขยายคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ของตน เขาเรียกร้องให้มีการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางในทันที นอกจากนี้เขายังแสดงความกังวลของกลุ่มประเทศเกี่ยวกับผลกระทบของอาวุธนิวเคลียในด้านมนุษยธรรม และกระตุ้นให้ทุกรัฐพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

Sun Lei จากคณะผู้แทนถาวรจีนประจำองค์การสหประชาชาติกล่าวว่าประเทศของเขาได้ให้การสนับสนุนต่อการห้ามและการทำลายอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง และจะไม่เป็นฝ่ายแรกในการใช้คลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ของตนเองหรือขู่ว่าจะใช้อาวุธเหล่านี้กับประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์หรือเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เขาเน้นว่าการประชุมเกี่ยวกับการลดอาวุธในเจนีวาเป็นสถานที่ที่เหมาะสมเพียงแห่งเดียวสำหรับการเจรจาการไม่แพร่ขยายอาวุธและการลดอาวุธ และเรียกร้องให้ใช้วิธีการปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อมุ่งหน้าไปสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์

Jorge Arreaza Montserrat รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวเนซุเอลากล่าวในนามของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดประชุมระดับสูงเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในปัจจุบัน เขากล่าวเพิ่มว่าตราบเท่าที่อาวุธนิวเคลียร์ยังมีอยู่ ความเสี่ยงต่อการใช้อาวุธนิวเคลียร์ก็จะยังคงมีอยู่ และเสริมว่าอาวุธดังกล่าวทั้งหมดนั้นเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เขากล่าวเสริมว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์เหล่านั้นจะมีผลกระทบด้านมนุษยธรรมในระดับหายนะ

เขาแจ้งถึงความกังวลเป็นอย่างยิ่งของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่อการที่กลุ่มรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไร้ความคืบหน้าในการลดคลังสรรพาวุธของตน และเรียกร้องให้มีการกระทำที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบต่อการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง รวมถึงการดำเนินการอย่างเร่งด่วนของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลาง

เขาอธิบายว่าหลักการพหุภาคีเป็นหลักการพื้นฐานของการลดอาวุธ และได้แจ้งความกังวลในด้านการทำให้คลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่ทันสมัยยิ่งขึ้น การผลิตอาวุธใหม่ ๆ และการที่สหรัฐฯ ทบทวนหลักการในด้านนิวเคลียร์ของตน

Vijay Keshav Gokhale ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียเชื่อมโยงตนเองเข้ากับขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเน้นย้ำว่าเราจะบรรลุเป้าหมายในการลดอาวุธได้โดยกระบวนการแบบทีละขั้นตอนภายในขอบข่ายงานพหุภาคีที่ตกลงกัน

เขาย้ำว่าจำเป็นต้องมีการสนทนาที่มีความหมาย และกล่าวว่าการประชุมเกี่ยวกับการลดอาวุธจะเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์อย่างครบวงจรตามอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี แต่ก็ยอมรับว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่มีอำนาจในการตกลงเกี่ยวกับเนื้อหาโครงการได้ เขาเสริมว่าอินเดียยังสนับสนุนการเจรจาในการประชุมเกี่ยวกับการลดอาวุธในสนธิสัญญาตัดขาดวัสดุฟิสไซล์

Abdallah Y. al-Mouallimi ของซาอุดีอาระเบียก็ได้เชื่อมโยงตนเองเข้ากับขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเช่นกัน และกล่าวว่าสันติภาพและความมั่นคงจะเป็นไปได้ในภูมิภาคหนึ่งเมื่อภูมิภาคดังกล่าวไม่มีอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงแล้วเท่านั้น เขากล่าวเสริมว่าจำเป็นต้องมีการเจรจาและความร่วมมือระหว่างรัฐต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่าโชคไม่ดีที่อิสราเอลทำให้ความพยายามในการสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางต้องหยุดชะงักลง

Sebastian Kurz นายกรัฐมนตรีของออสเตรียเน้นย้ำถึงบทบาทผู้นำประเทศในการร่างสนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ และกล่าวว่าอันตรายของอาวุธดังกล่าวนั้นรุนแรงกว่าที่เคย เขาเสียใจและกล่าวว่า นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น ความตระหนักถึงอันตรายของภัยคุกคามที่อาวุธนิวเคลียร์ก่อให้เกิดต่อมนุษยชาตินั้นได้ลดลง

“แต่อาวุธไม่ได้หายไปไหน” เขากล่าวว่านอกจากการทำให้คลังสรรพาวุธทันสมัยแล้ว อาวุธนิวเคลียร์ยังได้รับการผลิตให้ง่ายต่อการใช้งานอีกด้วย เขากล่าวว่าทุกคนยอมรับว่าโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นโลกที่ดีขึ้นและปลอดภัย และเสริมว่าสนธิสัญญาดังกล่าวได้ส่งสัญญาณอันแข็งแกร่งออกไปว่ารัฐส่วนใหญ่นั้นปฏิเสธสภาพที่เป็นอยู่ เขากล่าวว่าสนธิสัญญาเป็นเพียงก้าวแรกแต่ก็เป็นก้าวที่สำคัญ และเรียกร้องให้ทุกรัฐลงนามและให้สัตยาบัน

Doc Mashabane ผู้อำนวยการฝ่ายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศจากกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งแอฟริกาใต้กล่าวว่าการลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธและการกำจัดโลกแห่งอาวุธนิวเคลียร์นั้นเป็นนโยบายที่ประเทศของตนให้การสนับสนุนมาตั้งแต่การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในปี 1994

ประสบการณ์ของแอฟริกาใต้ได้แสดงให้เห็นว่าการไม่ครอบครองและไม่พยายามครอบครองอาวุธนิวเคลียร์นั้นสามารถส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศได้ “เราจะสามารถแก้ไขภัยคุกคามร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศที่มากขึ้นและสถาบันที่เข้มแข็งซึ่งสามารถตอบสนองต่อข้อกังวลด้านความมั่นคงร่วมกันได้” เขากล่าวและเสริมว่าแอฟริกาใต้จะให้สัตยาบันในสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ในไม่ช้า [IDN-InDepthNews – 30 กันยายน 2018]

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top