Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Uncertainty Haunts the Future of Non-Proliferation Treaty and Disarmament – THAI

ความไม่แน่นอนหลอกหลอนอนาคตของสนธิสัญญาไม่การแพร่ขยายอาวุธและการปลดอาวุธ

มุมมองจาก Tariq Rauf *

ฮิโรชิมา (IDN) – วันที่ 6 สิงหาคมและ 9 สิงหาคมนี้จะเป็นวันครบรอบ 75 ปีของการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ ไม่มีมนุษย์ผู้มีสติสัมปชัญญะคนใดที่เคยพบหรือได้เห็นฮิบาคุชา (ผู้รอดชีวิต) หรือเคยไปเยือนจุดทิ้งระเบิด ของทั้งสองเมือง หรือเห็นหลักฐานภาพถ่ายของการทำลายล้างเมืองญี่ปุ่นทั้งสองแห่งนี้ จะสามารถหลีกเลี่ยง ความรู้สึกอันน่าสะเทือนใจและหวาดกลัวจากการทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ได้เลย

จนถึงตอนนี้ โชคดีที่ฮิโรชิมาและนางาซากิยังคงเป็นตัวอย่างที่หลงเหลืออยู่ของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงคราม รวมถึงยังแสดงให้เห็นถึงความหวังที่ว่า การทิ้งระเบิดปรมาณูของฮิโรชิมาและนางาซากิเป็นเครื่องเตือนใจ อย่างต่อเนื่องถึงเหตุผลที่ต้องมีการป้องกันการใช้และการแพร่ขยายอาวุธดังกล่าวต่อไป และเพราะเหตุใด การปลดนิวเคลียร์ที่นำไปสู่โลกอันปลอดนิวเคลียร์จึงมีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติและ โลกในที่สุด

 การล่มสลายของการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์

 น่าเสียดายที่วิสัยทัศน์ในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ของโลกกำลังลดถอยลง เนื่องจากสถาปัตยกรรมการควบคุม อาวุธนิวเคลียร์ที่สร้างขึ้นอย่างมานะอดทนในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานั้นกำลังพังทลายลงต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสนธิสัญญาว่าด้วยอาวุธนิวเคลียร์ระยะสั้นและระยะกลาง (INF) ปี 2530 อย่างเป็นทางการ โดยมีการคาดการณ์ไว้แล้วในเดือนกรกฎาคม 2562 จากเหตุที่รัสเซียระงับการปฏิบัติ ตามสนธิสัญญาดังกล่าว ภายใต้สนธิสัญญา INF ณ เดือนพฤษภาคม 2534 มีการกำจัดขีปนาวุธทิ้งตัวและขีปนาวุธ นำวิถีความเร็วคงที่ระยะระหว่าง 500 และ 5,500 กิโลเมตรจำนวน 2,692 ลูก ซึ่งเป็นของสหภาพโซเวียตจำนวน 1,846 ลูก และของสหรัฐอเมริกา 846 ลูก รวมทั้งหัวรบนิวเคลียร์เกือบ 5,000 ลูกถูกปลดระวางสืบเนื่องจากการตรวจสอบร่วม

สภาวะนี้ทำให้หลงเหลือสนธิสัญญาการลดอาวุธนิวเคลียร์เพียงฉบับเดียวที่มีผลบังคับใช้ระหว่างรัฐบาลรัสเซียและรัฐบาล สหรัฐอเมริกา นั่นคือ สนธิสัญญาการลดอาวุธใหม่เชิงกลยุทธ์ (New START) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ตรวจสอบได้บ่งชี้ว่า ทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกามีหัวรบนิวเคลียร์เชิงกลยุทธ์ที่ใช้งานจำนวน 1,550 ลูก และนับจำนวนได้ถึงระดับเกณฑ์ ขีดจำกัดร่วมกัน รวมทั้งเครื่องยิงระเบิดที่ติดตั้งแล้วจำนวน 700 เครื่อง (ขีปนาวุธข้ามทวีปทางบกและทางทะเล และเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล) ในความเป็นจริง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้สนธิสัญญา New START รัสเซียมีเครื่องยิงระเบิดที่ติดตั้งแล้วอยู่จำนวน 524 เครื่อง พร้อมหัวรบนิวเคลียร์จำนวน 1,461 ลูก และสหรัฐอเมริกา มีหัวรบจำนวน 656 ลูกซึ่งอยู่ในเครื่องยิงระเบิดจำนวน 1,365 เครื่อง

สนธิสัญญา New START จะหมดอายุลงในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เว้นแต่จะได้รับการขยายเวลา โดยประธานาธิบดีปูตินและทรัมป์ หากสนธิสัญญา New START ไม่ได้รับการขยายเวลา จะทำให้รัฐบาลรัสเซีย และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปราศจากสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ทวิภาคีเป็นครั้งแรกในรอบครึ่งศตวรรษ และอาจนำไปสู่การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหม่ที่อันตราย

นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างโซเวียต/รัสเซียและสหรัฐอเมริกาไม่เพียงจะรื้อถอนข้อตกลงที่มีอยู่ แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีส่วนร่วมในมาตรการใหม่ ๆ มาเกือบทศวรรษแล้วอีกด้วย มิหนำซ้ำทั้งสองฝ่ายกำลังทำให้คลังอาวุธนิวเคลียร์มีความทันสมัยขึ้นและลดเกณฑ์ขั้นต่ำในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในนโยบายการแถลงการณ์และการปฏิบัติการของแต่ละฝ่าย

 นอกจากนี้ สนธิสัญญาห้ามการทดสอบนิวเคลียร์ที่ครอบคลุม (CTBT) ไม่ได้มีผลบังคับใช้มานานแล้วถึง 24 ปี หลังจากที่เปิดให้ลงนามในปี 2539 สนธิสัญญาปี 2560 ว่าด้วยการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ได้ถูกปฏิเสธ อย่างไร้เยื่อใยจาก 38 รัฐที่ยังคงต้องการพึ่งพานิวเคลียร์ และรัฐเหล่านี้ยังตั้งมั่นคัดค้านความพยายาม ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ที่จะดำเนินมาตรการอันมีประสิทธิภาพต่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์

 การเจรจาสนธิสัญญาระดับโลกเกี่ยวกับการห้ามการผลิตวัสดุฟิสไซล์ที่ได้รับการรับรองเพื่ออาวุธนิวเคลียร์ และการไม่ใช้อาวุธในอวกาศยังไม่ได้เริ่มขึ้น รวมทั้งพันธกรณีอื่น ๆ ในการลดอาวุธนิวเคลียร์ก็ยังคง ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยในขณะเดียวกันอันตรายจากนิวเคลียร์ก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

สถาปัตยกรรมและรากฐานของการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีถูกกัดเซาะโดยเหตุการณ์ ที่กล่าวมานี้ โดยการถอนตัวของสหรัฐอเมริกาในปี 2545 จากสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธฉบับสำคัญ (ABM) และจากความล้มเหลวของรัฐทั้งห้าที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในการปฏิบัติตามปณิธานอย่างเต็มที่เพื่อลดอาวุธนิวเคลียร์ดังข้อตกลงในกรอบ ของการประชุมหารือ NPT ในปี 2538/2543/2553

 บางคนอาจทราบว่าแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (JCPOA) ของสหภาพยุโรป/3 ยักษ์ใหญ่ของสหภาพยุโรป+อิหร่านได้ถูกยกเลิกโดยสหรัฐอเมริกา จึงทำให้อิหร่านพ้นจากข้อจำกัดในการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งสั่นคลอน สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลางและเพิ่มโอกาสในการทำสงครามขึ้นอีกครั้ง

 ปัจจุบัน หลักการของรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์บางแห่งบ่งชี้ถึงการลงมือใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนหรือแต่เนิ่น ๆ คำแนะนำเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Nuclear Operations (11 มิถุนายน 2562) มีเนื้อความชัดเจนว่า “การใช้อาวุธนิวเคลียร์สามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อผลลัพธ์ที่เด็ดขาดและการฟื้นฟูเสถียรภาพ เชิงกลยุทธ์ได้” ส่วนหลักการทางทหารของรัสเซียนั้นชี้ให้เห็นถึง “การยกระดับเพื่อลดระดับ” ในการต่อต้าน กองกำลังดั้งเดิมของนาโต้ กล่าวคือ การใช้อาวุธนิวเคลียร์เนิ่น ๆ แต่ในจำนวนจำกัด ในเอเชียใต้ ทั้งอินเดียและปากีสถานยังพิจารณาถึงการใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่อความขัดแย้งในระดับภูมิภาค

 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจอย่างมาก เนื่องจากเมื่อมีการพูดถึงการใช้อาวุธนิวเคลียร์ คำศัพท์ที่ใช้มักได้รับการขัดเกลา ทำให้ดูดีขึ้นอย่างง่ายดาย การทำลายล้างโดยสงครามนิวเคลียร์ รวมทั้งผลลัพธ์ด้านมนุษยธรรมและผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมนั้นถูกลดความสำคัญลง แล้วกลับแทนที่ด้วยแนวคิดการระงับเชื้อด้วยการป้องปรามนิวเคลียร์

 ความจริงที่น่ากลัวคือการที่หัวรบนิวเคลียร์มากกว่า 14,000 ลูกได้รับการติดตั้งอยู่ในเก้ารัฐที่ครอบครอง อาวุธนิวเคลียร์ ณ พื้นที่กว่า 100 แห่งใน 14 รัฐ ซึ่งทำให้ความอันตรายจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์นั้นเพิ่มขึ้น รวมถึงยูเรเนียมเกรดอาวุธในคลังเกือบ 1,400 ตัน (หรือ 1,400,000 กิโลกรัม) และสินค้าพลูโทเนียม ที่ใช้สร้างอาวุธได้จำนวน 500 ตัน (หรือ 500,000 กิโลกรัม) เพื่อใช้สำหรับหัวรบนิวเคลียร์มากกว่า 130,000 ลูก อย่าลืมข้อเท็จจริงที่ว่า การผลิตหัวรบนิวเคลียร์หนึ่งลูกใช้ยูเรเนียมสมรรถนะสูง 25 กก. หรือน้อยกว่า และพลูโทเนียม 8 กก. หรือน้อยกว่า

 จึงไม่น่าแปลกใจที่บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนในอดีต เช่น วิลเลียม เพอร์รี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา และคนอื่น ๆ แสดงความเห็นไว้ว่า โลกทุกวันนี้มีอันตรายจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ตั้งใจ โดยอุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งโดยเจตนา สูงกว่าในช่วงเวลาอันตึงเครียดของสงครามเย็นเสียด้วยซ้ำ ความเข้าใจระหว่างประธานาธิบดีกอร์บาชอฟกับเรแกนเมื่อเดือนธันวาคม 2530 ที่ว่า “ไม่มีใครเป็นผู้ชนะได้ ในสงครามนิวเคลียร์ และเราต้องห้ามการสู้รบในลักษณะนี้” ไม่ได้อยู่ในความคิดแรก ๆ ของผู้นำ และนักวางแผนสงครามนิวเคลียร์ในวันนี้อีกต่อไปแล้ว ในปีนี้ Bulletin of the Atomic Scientists ได้ตั้งเวลา (ซึ่งนำไปสู่บริบทว่าเราเข้าใกล้กับหายนะนิวเคลียร์มากน้อยเพียงใด) ที่ 100 วินาทีถึงเที่ยงคืน ซึ่งใกล้ภัยพิบัติ มากกว่าปีใด ๆ ของช่วงสงครามเย็น

เราอาจตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดเราถึงพบตัวเองในสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้ง ๆ ที่ได้มีการพูดคุยกันมากเกี่ยวกับการแบ่งปันความสงบสุข และการจัดระเบียบโลกใหม่ในช่วงต้นทศวรรษ 2550 เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง และได้มีการสัญญาว่าจะลดบทบาทอาวุธนิวเคลียร์ในการรักษาความมั่นคง ระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ต่ออายุออกไปอย่างไม่มีข้อสิ้นสุด ในปี 2538 สนธิสัญญา CTBT เสร็จสมบูรณ์ในปี 2539 อีกทั้งรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ทั้งห้าได้ตกลง ที่จะ “ปฏิบัติการอย่างจริงจัง” ต่อการลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการจากผลการประชุมหารือ NPT ปี 2543 และ 2553 ตามลำดับ เพราะเหตุใด?

เหตุผลหลักคือรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของ NPT ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่ได้ตกลงกันภายใต้กรอบของสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และการประชุมหารือ ปี 2538/2543/2553 แม้ว่าทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกาอ้างว่าต่างฝ่ายได้ลดคลังอาวุธนิวเคลียร์ลงประมาณ 80% จากช่วงเวลาอันตึงเครียดของสงครามเย็น แต่ทั้งคู่กลับกำลังยุ่งกับการปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์ให้ทันสมัย และลดเกณฑ์ขั้นต่ำของสงครามนิวเคลียร์ลง รวมทั้งมีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 1,000 ลูกที่สถานะพร้อมเปิดปฏิบัติการ

 การสร้างสภาพแวดล้อม (ต่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์) หรือเพื่อการไม่ปลดอาวุธกันแน่?

 สนนธิสัญญา NPT ครบรอบ 50 ปีในปี 2563 และสัญญาณเตือนภัยได้ดังขึ้นแล้ว แจ้งเตือนถึงความล้มเหลว ของการประชุมหารือ NPT ที่สำคัญของปีนี้ กลับมาที่การปลดอาวุธนิวเคลียร์ในบริบทของ NPT ซึ่งตอนนี้คับคั่งด้วยแนวทางหลากหลายที่แข่งขันกัน เช่น ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ของรัฐ ที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญา NPT เห็นชอบกับ “แผนปฏิบัติการ” แบบสามช่วงเวลา ในทางตรงกันข้าม รัฐทางตะวันตกกลับยึดมั่นในวิธี “ทีละขั้นตอน” ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยโดยกลุ่มวาระเชื่อมโยงที่รู้จักกันในชื่อ โครงการริเริ่มการไม่แพร่ขยายและการลดอาวุธ (NPDI) ซึ่งเรียกร้อง “การสร้างแนวกั้น” ในขณะที่อีกกลุ่ม  ที่คล้ายกันอย่าง วาระพันธมิตรใหม่ (NAC) สนับสนุนแนวทาง “เร่งการลดอาวุธนิวเคลียร์” ส่วนสวีเดนได้เสน”หินนับก้าว” และสหรัฐอเมริกาสานต่อแนวคิด “การสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการปลดอาวุธนิวเคลียร์” (CEND)

แนวทางที่แตกต่างหลากหลายเหล่านี้ได้ปะทะกันในช่วงปี 2561-2562 ของการประชุมคณะกรรมการเตรียมการ และมุมมองที่ลดหลั่นแข่งขันกันเหล่านี้จะนำมาถกเถียงในการประชุมหารือ NPT ปี 2563 – ซึ่งจะเป็นการครบรอบ 50 ปีของสนธิสัญญา NPT

โลกนี้ช่างสวยงาม

สหรัฐอเมริกาได้จัดการประชุม CEND สองครั้ง และวางแผนการจัดครั้งที่สามต้นเดือนเมษายน นักการทูตหลายคน ต้องเข้าร่วมเพราะไม่สามารถ “ปฏิเสธ” คำเชิญของสหรัฐอเมริกา ส่วนคนอื่น ๆ แม้จะมีข้อกังขา แต่ก็ไม่ต้องการถูกมองข้าม อีกทั้งบางคนยังเป็นทหารผู้ภักดีที่ถูกมอมเมาด้วยคำสัญญาที่ว่า CEND เป็น “พรจากสวรรค์” เพื่อช่วยเหลือ NPT

โดยการประเมินแนวทางของ CEND อย่างจริงจังฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่า โครงการริเริ่มนี้มุ่งที่จะเปลี่ยนจุดสนใจ และความรับผิดชอบที่มีต่อ “สภาพแวดล้อม” และ “เงื่อนไข” สำหรับการปลดอาวุธนิวเคลียร์ จากรัฐที่ครอบครอง อาวุธนิวเคลียร์ไปเป็นรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ในความเป็นจริง แนวทางของ CEND ตามความที่เขียนไว้ ในปัจจุบันมุ่งหมายไปที่เหตุ “การสร้างเงื่อนไขที่จะไม่มีวันปลดอาวุธ” เนื่องจากไม่ได้พิจารณาการดำเนินกา ตามพันธกรณีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งปรากฏในหนังสือเล่มต่าง ๆ อยู่แล้ว รวมทั้งไม่ได้พิจารณาหลักปฏิบัติ ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ (ชนิดทำลายล้างต่ำ) ในระยะแรก

แนวทางของ CEND ระบุว่าสภาพแวดล้อมปัจจุบันไม่เอื้อต่อการปลดอาวุธนิวเคลียร์ มุมมองดังกล่าว สะท้อนถึงภาวะหลงลืม เนื่องจากมีการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการควบคุมและปลดอาวุธนิวเคลียร์ ภาคพหุภาคีและทวิภาคีที่สำคัญหลายฉบับ ในช่วงที่มีความไม่ไว้วางใจสูงของสงครามเย็น ซึ่งรวมถึง NPT ด้วย!

ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะกำหนดลักษณะแนวทางของ CEND ตาม “ความฝันถึงอนาคตอันเลิศเลอ เพื่อให้เกิดความมหัศจรรย์ และโปรยตะกอนกายสิทธิ์ที่นำไปสู่โลกแห่งความเพ้อฝันใบใหม่ของการควบคุม
อาวุธนิวเคลียร์”

เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกาได้บรรยายลักษณะผู้สนับสนุนการลดอาวุธนิวเคลียร์
ในขอบข่ายของ NPT ว่าเป็นดั่ง “ดวงไฟที่ใกล้มอด” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือโง่เขลาเบาปัญญา และมีทัศนคติที่เป็นดั่ง “ส่วนผสมที่ละเลงความโง่เขลาและความวิกลจริต” ซึ่งไม่เคยมีวาทกรรมที่ต่ำหรือการเหยียดหยามที่เปิดเผยเช่นนี้มาก่อน! หากเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงเริ่มลนลานและระดับของวาทกรรมนั้นต่ำลงจนถึงขีดสุดแล้ว ก็อันแน่ชัดแล้วว่า เรื่องนี้เป็นลางไม่ดีสำหรับการพัฒนาข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ในการประชุมหารือ NPT ในอีกสองเดือนนับจากนี้

การสร้างความเชื่อเรื่อง “โลกนี้ช่างสวยงาม” ตามแนวทางของ CEND ให้แก่ผู้คน ไม่ใช่หนทางที่จะช่วยให้โลกรอดพ้น จากการทำลายล้างของนิวเคลียร์! การปฏิบัติตามข้อบังคับในการปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างซื่อสัตย์ตามกรอบ NPT เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้พ้นภัย

NPT ครบรอบ 50 ปี: จากนิวยอร์ก 2563 ถึงเวียนนา 2564

เชื้อโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) กำลังจะกลายเป็นโรคระบาด และดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมอาวุธบางคน ลังกระวนกระวายใจอยู่ใช่หรือไม่? ดังนั้น บางทีเราควรพิจารณาอย่างจริงจังให้การประชุมหารือ NPT ครบรอบ 50 ปี ในปีนี้ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในนิวยอร์กระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 22 พฤษภาคม เลื่อนไปเป็นปีหน้า (2564) และจัดประชุมที่กรุงเวียนนา (ประเทศออสเตรีย) เมืองประวัติศาสตร์แห่งการประชุมระดับโลก การดำเนินการนี้ ไม่เพียงจะเป็นสถานที่การประชุมที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง แต่ยังทำให้จิตใจสงบ และน่าจะเป็นสถานที่สื่อกลาง ที่ปกคลุมด้วยอิทธิพลทางการเมืองน้อยลง เพื่อการพินิจพิเคราะห์เรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์

โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ยังคงเป็นเป้าหมายที่ห่างไกล และเราจำเป็นต้องฟังเสียง
ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสซึ่งในระหว่างที่ไปเยือนเมืองแห่งนี้ พระองค์ได้กล่าวความต้องการอย่างชัดเจน ว่า ประเทศมหาอำนาจโลกควรละทิ้งคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตน พระองค์ประกาศว่า ทั้งการใช้และการครอบครอง ระเบิดปรมาณูถือเป็นอาชญากรรมที่ “ผิดศีลธรรม” และเป็นขยะอันตราย

เราขอน้อมนำความโศกเศร้าของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในฮิโรชิมา (เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา): “เราจะกล่าวถึงสันติสุขได้อย่างไร ในเมื่อเราสร้างอาวุธสงครามใหม่ที่น่าสะพรึงกลัวเสียเอง? เราจะแสดงถึง สันติสุขได้อย่างไร หากเราข่มขวัญอยู่เนือง ๆ ว่าสงครามนิวเคลียร์เป็นแนวทางที่ชอบธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง? ขอให้ก้นบึ้งแห่งความเจ็บปวดที่หยั่งลึกอยู่ที่นี่ ย้ำเตือนเราถึงขอบเขตที่ไม่ควรก้าวข้าม”

* Tariq Rauf เป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายนโยบายการตรวจสอบและความมั่นคงทางนิวเคลียร์ทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ในกรุงเวียนนาและอดีตรองหัวหน้าคณะผู้แทน IAEA ในการทำสนธิสัญญา ไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) [IDN-InDepthNews – 27 กุมภาพันธ์ 2563]

ภาพถ่ายได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงาน UNITAR ฮิโรชิมา

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top