Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Behind North Korea’s New Missile Launches in the Midst of Coronavirus Pandemic – Thai

เบื้องหลังการทดสอบขีปนาวุธครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยซานโต ดี. บาเนอร์จี

นิวยอร์ก (IDN) – ขณะนี้ประชาคมนานาชาติทุ่มกำลังต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก การตอบสนองต่อการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือครั้งแรกในปีนี้จึงเป็นไปอย่างจำกัด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดการประชุมลับในวันที่ 5 มีนาคม แต่ไม่สามารถตกลงข้อมติร่วมกัน

อย่างไรก็ดี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เอสโตเนีย และเบลเยียมระบุใน “แถลงการณ์ร่วม” ว่า “มีความกังวลอย่างยิ่งจากการทดสอบยิงขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี” (เกาหลีเหนือ) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม

ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นสองในห้าของประเทศที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแบบถาวร ขณะที่เยอรมนี เอสโตเนีย และเบลเยียมเป็นประเทศสมาชิกแบบไม่ถาวร

แถลงการณ์ดังกล่าวชี้ว่าเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบยิงขีปนาวุธแล้ว 14 ชุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 “เกาหลีเหนือยังคงดำเนินโครงการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธต่อไป ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเกี่ยวกับเกาหลีเหนือได้เน้นย้ำถึงความพยายามดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง”

ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแบบถาวรสองประเทศและแบบไม่ถาวรสามประเทศ ประณาม “การกระทำอันเป็นการยั่วยุดังกล่าว” ซึ่ง “บ่อนทำลายความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค รวมถึงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งยังชัดเจนว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อมติที่เป็นเอกฉันท์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ”

ประเทศสมาชิกเหล่านี้ยืนยันว่าจะ “ผลักดันให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมในการเจรจาที่มีความหมายอย่างจริงใจต่อไป พร้อมกับสหรัฐอเมริกาที่มีเป้าหมายในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งใช้ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมเพื่อเลิกการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายสูงและเลิกโครงการทดสอบขีปนาวุธในลักษณะที่สมบูรณ์ ตรวจสอบได้ และย้อนกลับไม่ได้ รวมถึงระงับการยั่วยุที่มากไปกว่านี้”

อีกทั้งเสริมว่า “ไม่มีทางอื่นที่จะบรรลุเป้าหมายความมั่นคงและเสถียรภาพในคาบสมุทรเกาหลีอีกแล้ว การยั่วยุที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเสี่ยงต่อการบั่นทอนโอกาสการเจรจาที่ประสบความสำเร็จ”

ทั้งห้าประเทศกล่าวโดยขัดกับเบื้องหลังความล้มเหลวของคณะมนตรีความมั่นคงในการตกลงข้อมติร่วมกัน ซึ่งมีรายงานเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ว่า “สำคัญที่คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องรับรองการใช้ข้อมติอย่างเต็มรูปแบบ และยังใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อไป”

รัสเซียและจีนมีความกังวลว่าการคว่ำบาตรจะเป็นผลร้ายต่อประชาชนชาวเกาหลีเหนือ โดยระบุถึงความหวังว่าการผ่อนผันข้อจำกัดบางประการอาจช่วยให้การเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลเกาหลีเหนือเดินหน้าต่อไปได้

ทั้งสองประเทศได้ยื่นข้อมติฉบับร่างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งอาจยกเลิกการคว่ำบาตรอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับเกาหลีเหนือนับร้อยล้านดอลลาร์ มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวกำหนดขึ้นในปี 2559 และ 2560 เพื่อตัดเงินทุนสนับสนุนโครงการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ เกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรจากองค์การสหประชาชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เนื่องจากโครงการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา

นายจาง จวิน ผู้แทนจีนประจำสหประชาชาติบอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 2 มีนาคมว่า “เนื้อหาของร่างข้อมติยังคงหาข้อสรุปไม่ได้และเรายินดีรับฟังความคิดเห็นของร่างข้อมตินี้ เราเชื่อว่านี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าพอใจมากขึ้น เพื่อให้สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีก้าวหน้าต่อไปได้”

แถลงการณ์ร่วมโดยอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เอสโตเนีย และเบลเยียม เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติ “ปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าวเพื่อบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างเข้มงวด รวมถึงรายงานการดำเนินการซึ่งสอดคล้องกับข้อมติที่คณะมนตรีใช้”

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีประณามการทดสอบยิงขีปนาวุธระยะใกล้สองครั้ง “อย่างรุนแรง” ในการแสดงความคิดเห็นถึงรายงานการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออีกสองครั้งในวันที่ 21 มีนาคม “การทดสอบสองครั้งจากการยิงขีปนาวุธหลายครั้งในเดือนนี้… เกาหลีเหนือได้ฝ่าฝืนข้อผูกพันที่มีต่อมติที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอีกครั้ง การดำเนินการทดสอบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเกาหลีเหนือกำลังทำตนเป็นภัยต่อความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างไร้ความรับผิดชอบ” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีกล่าว
รัฐบาลเยอรมนีเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระงับการทดสอบขีปนาวุธเพิ่มเติม รวมถึงยอมรับข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาในการเดินหน้าเจรจาต่อไปหลังถูกเกาหลีเหนือปฏิเสธ

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่านับตั้งแต่การล้มเหลวของการประชุมสุดยอดครั้งที่สองระหว่างนายคิมและนายทรัมป์ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ ในพ.ศ. 2562 ที่ประเทศเวียดนาม เกาหลีเหนือก็กลับมาดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับขีปนาวุธและการใช้อาวุธต่อไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพ พวกเขาจำได้ว่านายคิมเริ่มต้นปีใหม่โดยให้คำปฏิญาณว่าจะสนับสนุนการยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์ ในการเผชิญหน้ากับการคว่ำบาตรและการกดดันจากสหรัฐอเมริกาที่ “เหมือนพวกอันธพาล”

นายคริสโตเฟอร์ ฟอร์ด ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศและการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ กล่าวซ้ำในแถลงการณ์สั้น ๆ เมื่อวันที่ 19 มีนาคมว่ารัฐบาลภายใต้นายทรัมป์ “พร้อม ยินดี และเตรียมตัวแล้ว” ที่จะเริ่มการเจรจาในระดับการทำงานกับเกาหลีเหนือ โดยมีเป้าหมายที่การดำเนินการตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ “เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

นายคิมได้ให้คำมั่นอย่างคลุมเครือในการเจรจาเมื่อ พ.ศ. 2561 ที่ประเทศสิงคโปร์ ว่าจะเดินหน้าดำเนินการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีโดยสมบูรณ์ อีกทั้งผู้นำทั้งสองยังตกลงถึงการพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน แต่การประชุมสองครั้งถัดมาของผู้นำทั้งสอง รวมถึงการประชุมในระดับที่ต่ำกว่าอื่น ๆ ไม่มีความคืบหน้าในการขยายความข้อตกลงเหล่านั้นมากเท่าที่ควร

อ้างอิงจากนายสตีเฟน นากี รองศาสตราจารย์อาวุโสที่ International Christian University การทดสอบยิงในเดือนมีนาคมเป็นไปเพื่อเปลี่ยนความมุ่งมั่นของรัฐบาลนายทรัมป์ที่มีต่อเกาหลีเหนือ ในความพยายามให้ได้มาซึ่งการลดมาตรการคว่ำบาตรและความช่วยเหลือที่เป็นไปได้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

“เมื่อคำนึงถึงความล้มเหลวของการทูตกับนายคิม ทั่วโลกที่ถูกการระบาดของโควิด-19 ดึงความสนใจไป และรัฐบาลนายทรัมป์ที่ไม่ได้พูดคุยถึงเกาหลีเหนือแม้แต่น้อย การทดสอบยิงขีปนาวุธของรัฐบาลเกาหลีเหนือจึงเป็นการส่งสัญญานถึงสหรัฐอเมริกาว่าเกาหลีเหนือยังคงเป็นกำลังก่อกวนที่ต้องจัดการ” Kyodo News อ้างอิงคำพูดของนายนากี

อันที่จริง ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการต่างประเทศอื่น ๆ ยังคาดว่าเกาหลีเหนือจะทดสอบยิงขีปนาวุธต่อไป เนื่องจากนายคิมอาจคิดว่านายทรัมป์ ซึ่งต้องการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง ไม่ต้องการถูกรัฐบาลเกาหลีเหนือลูบคมในการลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลทางการทูตรายหนึ่งได้แสดงความกังขาว่านายคิมอาจยกระดับการยั่วยุต่อสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของเกาหลีเหนืออย่างเห็นได้ชัด [IDN-InDepthNews – 25 มีนาคม 2563]

ภาพ: นายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือและประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่การประชุมสุดยอดในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แหล่งข้อมูล: @Scavino45 ของแดน สกาวิโน จูเนียร์ ผู้อำนวยการด้านสื่อสังคมออนไลน์ประจำทำเนียบขาวและผู้ช่วยประธานาธิบดี

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top