Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

The UK Defies Nuclear Treaties and Strengthens Atomic Arsenal – Thai

สหราชอาณาจักรต่อต้านสนธิสัญญานิวเคลียร์และเสริมสร้างคลังแสงปรมาณู

โดย Jamshed Baruah

ภาพ: ขีปนาวุธ Trident ที่ปล่อยออกมาจากเรือดำน้ำขีปนาวุธที่จมอยู่ใต้น้ำ แหล่งที่มา: Wikimedia Commons.
ภาพ: ขีปนาวุธ Trident ที่ปล่อยออกมาจากเรือดำน้ำขีปนาวุธที่จมอยู่ใต้น้ำ แหล่งที่มา: Wikimedia Commons.

เจนีวา (IDN) – ภายในสามเดือนหลังจากที่สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากหน่วยงานทั้งหมดในสหภาพยุโรปและจากประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปในวันที่ 31 มกราคม 2020 นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันก็ได้ตัดสินใจเพิ่มกำลังนิวเคลียร์ของประเทศขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์เป็น 260 คลังแสงเพื่อ “ยังคงเป็นพันธมิตรยุโรประดับชั้นนำภายใน NATO” นักเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดอาวุธตลอดจนสมาชิกรัฐสภาโลกต่างวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจดังกล่าว

อันตรายที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์นั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าหัวรบปรมาณูเพียงหัวเดียวก็สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้หลายพันคน อีกทั้งยังจะสร้างผลกระทบที่ยาวนานและทำลายล้างในด้านมนุษยธรรมและสิ่งแวดล้อม อาวุธปรมาณูส่วนใหญ่มีอานุภาพมากกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมาหลายเท่า

ตามการระบุจากสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสตอกโฮล์ม (SIPRI) ในโลกนี้ รัฐที่ติดอาวุธมีหัวรบนิวเคลียร์รวมกันเกือบ 13,500 หัวโดยมากกว่าร้อยละ 90 เป็นของรัสเซียและสหรัฐอเมริกา หัวรบประมาณ 9,500 หัวอยู่ในฝ่ายทหาร และส่วนที่เหลือรอการรื้อถอน

โครงการนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักรหรือที่เรียกว่า Trident ก่อตั้งขึ้นในปี 1980 ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของประเทศประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์ รายงาน ‘การทบทวนการป้องกันแบบบูรณาการ’ (Integrated Defense Review) จำนวน 111 หน้าซึ่งนำเสนอเมื่อวันที่ 16 มีนาคมระบุว่าสหราชอาณาจักรกำลังยกเลิกการจำกัดคลังแสงนิวเคลียร์ของตนตามที่ได้กำหนดขึ้นเอง และจะเพิ่มเป็น 260 หัว โดยไม่พิจารณาถึงขีดจำกัดก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ที่ 225 หัวและเป้าหมายการลดเหลือ 180 หัวภายในกลางปี ​​2020

ขณะนี้สหราชอาณาจักรกำลังมีส่วนร่วมในโครงการที่มีราคาแพงและยาวนานในการสร้างเรือดำน้ำที่สามารถใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้ โครงการดังกล่าวอยู่นอกชายฝั่งสกอตแลนด์แม้ว่าชาวสก็อตจะต่อต้านการใช้ระเบิดก็ตาม ในปี 2019 เพียงปีเดียว สหราชอาณาจักรก็ได้ใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับอาวุธนิวเคลียร์ถึง 8.9 พันล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ การตัดสินใจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกประกาศว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในการทำเช่นนั้น สหราชอาณาจักรกำลังเดินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องในการเพิ่มคลังอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

นอกจากนี้ การตัดสินใจครั้งนี้ยังขัดกับความมุ่งมั่นของสหราชอาณาจักรภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ในการปลดอาวุธตลอดจนข้อห้ามในสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ในด้านการครอบครอง พัฒนา และผลิตอาวุธนิวเคลียร์

คุณ Beatrice Fihn ซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริหารของ ICAN ได้ระบุว่าแผนการของสหราชอาณาจักรที่จะเพิ่มคลังอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคนั้นช่าง “ขาดความรับผิดชอบ เป็นอันตราย” และละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ “ในขณะที่คนอังกฤษกำลังดิ้นรนเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด วิกฤตเศรษฐกิจ ความรุนแรงต่อผู้หญิง และการเหยียดสีผิว แต่รัฐบาลก็เลือกที่จะส่งเสริมความไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามในโลก นี่คือการแสดงออกถึงความเป็นชายที่ช่างเป็นพิษเสียเหลือเกิน”

คุณ Fihn เป็นหัวหน้าคณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ICAN) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี 2017 กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ของโลกกำลังก้าวไปสู่อนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยปราศจากอาวุธนิวเคลียร์โดยเข้าร่วมสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ แต่สหราชอาณาจักรกลับกำลังผลักดันให้มีการแข่งขันในการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหม่ นี่เป็นเรื่องที่อันตรายมาก”

ในขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนสมาชิกรัฐสภา และเมืองต่าง ๆ รวมถึงแมนเชสเตอร์และออกซฟอร์ดก็เรียกร้องให้สหราชอาณาจักรเข้าร่วม TPNW “นโยบายของสหราชอาณาจักรควรเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนและกฎหมายระหว่างประเทศ และควรปฏิเสธอาวุธนิวเคลียร์อย่างถาวร”

“การขยายขีดความสามารถด้านอาวุธนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักรที่น่าตกใจนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีคำอธิบายว่าสิ่งนี้จะส่งผลประโยชน์ในระดับชาติหรือระดับโลกได้อย่างไร การดำเนินการของประเทศแสดงถึงความเพิกเฉยต่อความคิดเห็นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีและรัฐบาลแรกของสกอตแลนด์ซึ่งมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนต่อ TPNW เมืองต่าง ๆ เช่น แมนเชสเตอร์ เอดินบะระ ออกซฟอร์ด ไบรท์ตันแอนด์โฮฟ นอริช และลีดส์ต่างก็ได้ลงนามเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสนธิสัญญา และประชาชนส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรก็คิดว่าสหราชอาณาจักรควรลงนามใน TPNW “

คุณ Ben Donaldson หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ขององค์กรพันธมิตร ICAN UNA-UK กล่าวว่า “การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างความเป็นทหารและความโอหังที่แสนอันตราย รัฐบาลสหราชอาณาจักรต้องลงทุนในมาตรการเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดใหญ่ ไม่ใช่การกระตุ้นการแข่งขันในด้านการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหม่แสนอันตรายนี้

แคมเปญการรณรงค์เพื่อการลดอาวุธนิวเคลียร์ (CND) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ICAN ได้ประณามการตัดสินใจของสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน องค์กรระดับรากหญ้านี้ประสบความสำเร็จในการรณรงค์ห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลกที่สหประชาชาติ สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ปี 2021

ในขณะเดียวกัน คุณ Oliver Meier จากสถาบันเพื่อการวิจัยสันติภาพและนโยบายความมั่นคงแห่งมหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก (IFSH) ก็ได้เข้าร่วมการวิพากษ์วิจารณ์สหราชอาณาจักรในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์นิวเคลียร์เป็นอย่างมาก การทำเช่นนี้ยังอาจทำให้สหราชอาณาจักรขัดแย้งกับทั้ง NATO และสหรัฐฯ

“สหราชอาณาจักรได้ให้คำมั่นที่จะลดจำนวนและบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์” คุณ Meier ให้ความเห็นกับ Deutsche Welle ผู้ประกาศข่าวระหว่างประเทศของเยอรมัน “นอกจากนี้ยังมีภาระหน้าที่ในการมุ่งมั่นเพื่อสร้างโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ แต่การตัดสินใจครั้งนี้คงทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ยาก” เขากล่าวเสริม

‘การทบทวนการป้องกันแบบบูรณาการ’ (Integrated Defense Review) เตือนว่าสหราชอาณาจักรอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้หากประเทศอื่นใช้ “อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง” ในการต่อต้าน อาวุธดังกล่าวรวมถึง “เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจมีผลกระทบพอ ๆ กัน” กับอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ หรืออาวุธนิวเคลียร์อื่น ๆ

ตามคำกล่าวของบุคคลภายในด้านการป้องกัน “เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่” ยังประกอบไปด้วยการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตแม้ว่ารายงานจะไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนก็ตาม อย่างไรก็ตาม คุณ Tom Plant ผู้อำนวยการกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Royal United Services Institute กล่าวกับ CNBC ว่า: “ผมจะไม่ตีความว่าพวกเขาหมายถึงการโจมตีทางไซเบอร์ด้วย ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก”

เขาเสริมว่า “ผู้คนไม่ได้มีความเข้าใจอย่างเท่าเทียมกันเกี่ยวกับองค์ประกอบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในหน่วยงานรัฐบาล — ภัยทางไซเบอร์ไม่ได้กำลังเกิดขึ้น แต่ว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นมาสักพักแล้ว” ทั้งนี้คุณ Plant เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในด้านภาษาก็มีความสำคัญ

ในมุมมองของเขา การใช้ภาษาในปัจจุบันได้บ่งชี้ให้เห็นว่าในอนาคตอาจมีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยง “ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งที่แยกออกจากกัน” นี่เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ยากที่จะคาดเดา และ “อย่างน้อยก็มีความเป็นไปได้ที่ความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งผู้คนยังไม่รู้จักนี้อาจเป็นคู่แข่งกับ WMD ในด้านภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น” คุณ Plant กล่าว

การประกาศของสหราชอาณาจักรได้สร้างความกังวลไปทั่วโลกโดยมีหลักฐานจากคำแถลงว่าสหราชอาณาจักรสละความรับผิดชอบระดับโลกพร้อมมุ่งเน้นด้านอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มีนาคมโดยคุณ Gareth Evans ประธานเครือข่ายผู้นำเอเชียแปซิฟิกและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย

ในแถลงการณ์ดังกล่าว คุณ Evans ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการดำเนินนโยบายของสหราชอาณาจักรนั้น “ละเมิดข้อผูกพันในสนธิสัญญาอย่างชัดเจนภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจะดำเนินการปลดอาวุธนิวเคลียร์ และการทำเช่นนี้จะทำลายโอกาสที่จะเกิดฉันทามติในการประชุมทบทวน NPT ที่จะจัดขึ้นเร็ว ๆ นี้”

นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็น “การละเมิดข้อผูกพันทางศีลธรรมอย่างชัดเจน เนื่องจากเรามีข้อผูกพันในการช่วยกำจัดอาวุธที่ไร้มนุษยธรรมที่สุดเท่าที่เคยมีมา และหากใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามนิวเคลียร์ จะเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้อย่างที่เราต่างทราบกันดี”

คุณ Evans กล่าวย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐที่ติดอาวุธนิวเคลียร์จะต้อง “รับรู้อีกครั้งถึงพลังของการประกาศของ Reagan/Gorbachev เมื่อปี 1985 ว่า ‘ไม่มีใครสามารถชนะสงครามนิวเคลียร์ได้ และจะต้องไม่มีการต่อสู้เช่นนั้น’ อีกทั้งต้องเริ่มดำเนินโครงการที่จริงจังในการลดความเสี่ยงด้านนิวเคลียร์ รวมถึงการลดการติดตั้งอาวุธ การลดการเตรียมพร้อมการใช้งาน มุ่งมั่นว่าจะไม่เป็นผู้ใช้รายแรก และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือการลดจำนวนอาวุธในคลังของตน”

ทั้งคุณ Evans และ Baroness Sue Miller ในสภาขุนนางแห่งสหราชอาณาจักรและประธานร่วมของรัฐสภาเพื่อการไม่แพร่กระจายและการลดอาวุธนิวเคลียร์ (PNND) ต่างเป็นผู้สนับสนุนการเรียกร้องเพื่อโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ [IDN-InDepthNews – 22 มีนาคม 2021]

ภาพ: ขีปนาวุธ Trident ที่ปล่อยออกมาจากเรือดำน้ำขีปนาวุธที่จมอยู่ใต้น้ำ แหล่งที่มา: Wikimedia Commons.

IDN เป็นหน่วยงานหลักของ International Press Syndicate ที่ไม่แสวงหาผลกำไร

เยี่ยมชมเราได้ที่ Facebook และ Twitter

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top