Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

US Should Commit to A No-First-Use Nuclear Policy – Thai

สหรัฐฯ ควรปฏิบัติตามนโยบายนิวเคลียร์ในการไม่ใช้เป็นรายแรก

ทัศนะโดย Van Jackson*

WELLINGTON, New Zealand (IDN) — หนึ่งในบทเรียนที่ทรงพลังที่สุดของสงครามเย็นก็คือ นิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการยับยั้งผู้อื่นจากการใช้นิวเคลียร์ และนอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรดี อาวุธที่มีความรุนแรงเพียงช่วงสั้น ๆ นั้นช่างไม่เหมาะที่จะเป็นเครื่องมือบีบบังคับที่น่าเชื่อถือในสถานการณ์ส่วนใหญ่

หากสหรัฐฯ ประสงค์เพียงการป้องปราม แต่ไม่แสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองจากอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นการใช้นโยบายนิวเคลียร์แบบไม่ใช้เป็นรายแรกจะไม่เพียงเป็นตัวเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น แต่ยังจำเป็นอีกด้วย

ผู้สมัครรับเลือกตั้งแนวหน้าส่วนใหญ่ที่รณรงค์หาเสียงเพื่อเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในพรรคเดโมแครตในปี 2020 ต่างสนับสนุนนโยบายไม่ใช้เป็นรายแรก กฎหมายที่กำหนดไม่ให้ใช้เป็นครั้งแรกนั้นก็ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา อันที่จริง เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงสถานการณ์ใด ๆ ที่สหรัฐฯ จะได้ประโยชน์จากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนหน้าคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลังแสงอาวุธตามแบบของวอชิงตันสามารถไปถึงได้ทั่วโลก

นโยบายนิวเคลียร์แบบไม่ใช้เป็นรายแรกจึงเป็นนโยบายนิวเคลียร์ที่ตรงไปตรงมา ไม่มีประธานาธิบดีคนใดที่มีเหตุผลที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะทำเช่นนั้น ยกเว้นอาจจะเกิดจากความเข้าใจผิดที่น่าสลดใจ แต่ตั้งแต่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี นโยบายไม่ใช้เป็นรายแรกก็มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมากขึ้น

มีเพียงคนโง่เท่านั้นที่จะเชื่อมั่นในความสามารถเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯ หลังจากการตัดสินใจในยุคทรัมป์ ทรัมป์เป็นผู้แสดงปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในการเมืองสหรัฐฯ ในปัจจุบัน เขาไม่ใช่คนแปลกเลย เขาได้ก่อให้เกิดผู้ลอกเลียนแบบหลายคนในพรรครีพับลิกัน ซึ่งปล่อยข่าวทฤษฎีสมคบคิดและส่งเสริมนโยบายต่างประเทศที่เป็นปฏิปักษ์ เน้นการทหาร และเหยียดเชื้อชาติเพื่อหาความนิยมทางการเมืองในประเทศ

มีใครอยากมอบความไว้วางใจให้ผู้สมัครฝ่ายขวาสุดมีอำนาจในการยิงอาวุธนิวเคลียร์บ้างล่ะ นโยบายไม่ใช้เป็นรายแรกไม่ได้เป็นเพียงมาตรการเพียงเล็กน้อยที่จำเป็นในการยับยั้งอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอาณาจักรนิวเคลียร์

แม้ในอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ จะเคยพูดในทางที่ดีเกี่ยวกับนโยบายไม่ใช้เป็นรายแรก แต่ความคิดทางนิวเคลียร์ของฝ่ายบริหารของเขานั้นส่วนใหญ่แล้วก็แทบไม่ต่างจากยุคของทรัมป์ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากข้อตกลงควบคุมอาวุธส่วนใหญ่ ขยายการลงทุนในยานยนต์ร่อนแบบไฮเปอร์โซนิก การพัฒนาขั้นสูงของอาวุธนิวเคลียร์เชิง ‘ยุทธวิธี’ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ คุกคามการใช้นิวเคลียร์ด้วยวิธีที่เปล่าประโยชน์ที่สุด และทุ่มงบมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อแผนพัฒนานิวเคลียร์ให้ทันสมัย

เหตุใดการรักษาตัวเลือกในการใช้นิวเคลียร์เป็นรายแรกจึงเป็นความคิดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ ไม่ได้มีข้อจำกัดใด ๆ และสามารถสร้างอาวุธได้อย่างไม่จำกัด ฝ่ายที่ต่อต้านการไม่ใช้เป็นรายแรกได้ให้เหตุผลไว้สามประการ

ประการแรก ผู้ให้การสนับสนุนด้านนิวเคลียร์อ้างว่าจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือจะไม่เชื่อคำประกาศไม่ใช้เป็นรายแรก ทว่า ความจริงที่ว่าบางครั้งประเทศเหล่านี้หลอกลวงในด้านการทูตก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่สนใจต่อนโยบายไม่ใช้เป็นรายแรก หากฝ่ายตรงข้ามคิดว่าแผนนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ นั้นแย่อยู่แล้ว เช่นนั้นแล้วจะมีปัญหาอะไรหากเราจะบอกพวกเขาว่าไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เว้นแต่พวกเขาจะใช้นิวเคลียร์ก่อนเอง

หากความน่าเชื่อถือของสัญญาเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก วอชิงตันสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับคำมั่นสัญญาดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม กฎหมายที่จำกัดอำนาจของประธานาธิบดีเป็นกลไกหนึ่ง เช่นเดียวกับการกำจัดส่วนประกอบ ICBM ของนิวเคลียร์สามกลุ่ม การกลับเข้าสู่ข้อตกลงควบคุมอาวุธอีกครั้งซึ่งถูกยกเลิกไปในช่วงปีที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่ง และควบคุมการลงทุนในขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นพิสัยกลางและหัวรบนิวเคลียร์เชิง ‘ยุทธวิธี’ เมื่อรวมสัญญาณหลายสัญญาณเข้ากับข้อความทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญญาณที่มีราคาแพงและผูกมัด เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงบริบทการตัดสินใจ และการแถลงประกาศก็จะน่าเชื่อถือ

ประการที่สอง นโยบายที่คลุมเครือเป็นตัวกระตุ้นความไม่แน่นอนในกลุ่มศัตรูว่าสหรัฐฯ จะสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่อต้านตนได้หรือไม่ เป้าหมายของการทำเช่นนี้คือการป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐอเมริกาหรือพันธมิตร แล้วจะมีสถานการณ์ใดที่ศัตรูของวอชิงตันคิดว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นอันดับแรกเมื่อสหรัฐฯ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ตามแบบที่ไปถึงได้ทั่วโลก

หากการคุกคามที่น่าเชื่อถือว่าจะทำการตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์นั้นไม่สามารถขัดขวางจีน รัสเซีย หรือเกาหลีเหนือได้ แล้วนโยบายนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่คลุมเครือจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร ภัยคุกคามจากนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ จะไม่ป้องกันผู้รุกรานจากการยึดครอง ขู่เข็ญ หรือบุกรุกดินแดนเพื่อนบ้าน แนวความคิดที่ว่าสหรัฐฯ ควรให้ศัตรูคาดเดาเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของตนในยุทธศาสตร์นิวเคลียร์นั้นเป็นการใช้ตรรกะของสนามรบในสถานการณ์ยามสงบ

หากสหรัฐฯ เห็นว่าเหมาะสมจริง ๆ ที่จะทำการคุกคามว่าอาจใช้นิวเคลียร์เป็นรายแรกหากเกิดความขัดแย้ง เช่นนั้นแล้วการเปลี่ยนจากการใช้นโยบายนิวเคลียร์แบบไม่ใช้เป็นรายแรกให้กลายเป็นนโยบายที่คลุมเครือยิ่ง ‘ทำให้ศัตรูคาดเดา’ หากปล่อยให้หมอกแห่งสงครามปกคลุมภูมิศาสตร์การเมืองตลอดเวลา เราคงไม่สามารถป้องปรามในยามสงบได้แต่อย่างใด

ข้อโต้แย้งที่สามคือพันธมิตรที่พึ่งพาการยับยั้งนิวเคลียร์จากสหรัฐฯ จะกังวลเกี่ยวกับความสามารถหรือความเต็มใจของวอชิงตันในการยับยั้งภัยคุกคามในนามของพวกเขา แล้วเราจะสนใจเรื่องนี้ไปทำไม ไม่มีพันธมิตรรายใดที่เข้าร่วมเพียงเพราะอยากได้นิวเคลียร์ ไม่มีใครสามารถบรรเทาความกลัวต่อการถูกทอดทิ้งหรือการกักขังของพันธมิตรไปได้อย่างสมบูรณ์ เช่นนั้นแล้วสหรัฐฯ จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ตนถูกจับเป็นตัวประกัน

ในภาวะสุดโต่ง การที่สหรัฐฯ ไม่ให้การป้องปรามต่อญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือออสเตรเลีย อาจหมายความว่าพวกเขาจะมีนิวเคลียร์เป็นของตัวเอง แต่การต่อรองแบบเก่า ซึ่งก็คือให้วอชิงตันทำการแข่งขันอาวุธเพื่อที่พันธมิตรจะได้ไม่ทำนั้นช่างไม่สมเหตุสมผลในโลกที่การเมืองของสหรัฐฯ บิดเบี้ยวอย่างน่าหดหู่ การที่พันธมิตรเพิ่มจำนวนนิวเคลียร์อย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดความเสี่ยง แต่นั่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการที่มีสหรัฐฯ มีอำนาจเหนือกว่าทางนิวเคลียร์และประธานาธิบดีมีอำนาจในการใช้นิวเคลียร์เป็นรายแรก

แม้ว่าข้อโต้แย้งที่ขัดต่อนโยบายไม่ใช้เป็นรายแรกจะสู้ข้อดีไม่ได้ แต่คนที่มีเหตุผลก็ได้ถกเถียงประเด็นเหล่านี้มานานแล้ว ทว่า ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างมาก ในการออกนโยบายนิวเคลียร์ เราต้องพิจารณาใหม่ในประเด็นการอนุญาตให้ประธานาธิบดีที่ไร้อำนาจหรือฟาสซิสต์ใช้ดุลยพินิจในการยิงอาวุธนิวเคลียร์ก่อนที่ศัตรูของอเมริกาจะทำเช่นนั้น

หากเป้าหมายคือการทำให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ พึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์น้อยลงในอนาคตพร้อมกับลดความเสี่ยงของสงครามนิวเคลียร์ให้เหลือน้อยที่สุด การยอมรับนโยบายการไม่ใช้เป็นรายแรกก็ถือเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่สหรัฐฯ สามารถทำได้เพื่อปูทางสู่โลกที่ปกติสมบูรณ์[IDN-InDepthNews – 10 กรกฎาคม 2021]

* Van Jackson เป็น Senior Lecturer ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ Defence and Strategy Fellow ที่ศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน เขายังเป็น Senior Associate Fellow ของเครือข่าย Asia-Pacific Leadership Network for Nuclear Non-Proliferation and Disarmament ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นที่ปรึกษายุทธศาสตร์และนโยบายในสำนักงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

ภาพ: ขีปนาวุธ Trident II ยิงในขั้นแรกหลังจากการยิงใต้น้ำจากเรือดำน้ำขีปนาวุธทิ้งตัวของ Royal Navy Vanguard แหล่งที่มา: Wikimedia Commons.

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top