Nuclear Abolition News and Analysis

Reporting the underreported threat of nuclear weapens and efforts by those striving for a nuclear free world.
A project of The Non-Profit International Press Syndicate Group with IDN as flagship agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative
status with ECOSOC.

logo_idn_top
logo_sgi_top

Watch out for our new project website https://www.nuclear-abolition.com/

About us

TOWARD A NUCLEAR FREE WORLD was first launched in 2009 with a view to raising and strengthening public awareness of the urgent need for non-proliferation and ushering in a world free of nuclear weapons. Read more

IDN Global News

Will U.S. Congress Legally Restrain a Nuclear World War III? – Thai

รัฐสภาสหรัฐฯ จะยับยั้งสงครามนิวเคลียร์โลกครั้งที่สามได้หรือไม่?

โดย Shanta Roy

ขอขอบคุณรูปภาพจากฝ่ายบริหารการรักษาความปลอดภัยนิวเคลียร์แห่งชาติ / สำนักงานพื้นที่เนวาดา

องค์การสหประชาชาติ (IDN) – พฤติกรรมการใช้อาวุธนิวเคลียร์อันไม่แน่นอนของดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ – และการขู่ขวัญต่อหน้าสาธารณะของเขาในการ “ทำลายล้างเกาหลีเหนืออย่างสิ้นเชิง” – นั้นได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงจากนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์และนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสงคราม

“ปัญหาสำคัญคือดอนัลด์ ทรัมป์ดูเหมือนจะไม่คุ้นเคยว่าแท้จริงแล้วอาวุธนิวเคลียร์นั้นเป็นอย่างไร และจะเกิดความหายนะด้านมนุษยธรรมเช่นไรหากเขายิงอาวุธไปสู่เกาหลีเหนือ – หรือที่ใดก็ตาม แม้จะเพียงหนึ่งลูกก็ตาม” กล่าวโดย ดร. Rebecca Johnson แห่งสถาบัน Acronym เพื่อการทูตแบบลดอาวุธ ประธานร่วมก่อตั้งของกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN) และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2017  

ในขณะที่ความตึงเครียดยังคงเพิ่มขึ้น สมาชิกสภานิติบัญญัติสองคน ซึ่งได้แก่ Ed Markey แห่งแมสซาชูเซตส์และผู้แทน Ted Lieu แห่งแคลิฟอร์เนีย โดยทั้งสองคนเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครต ก็กำลังส่งเสริมร่างกฎหมายที่จะป้องกันไม่ให้ประธานาธิบดีทำการยิงการโจมตีนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรก – ซึ่งไม่ใช่การยิงเพื่อตอบสนองต่อการโจมตีทางนิวเคลียร์ – โดยไม่มีการประกาศสงครามโดยรัฐสภา

กฎหมายที่ได้รับการเสนอซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อช่วงต้นปีนี้กำลังประสบปัญหาหลังจากคำแถลงอันแข็งกร้าวของทรัมป์เมื่อไม่นานมานี้ รวมทั้งคำแถลงก่อนสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเขากล่าวอย่างข่มขู่ว่า: “สหรัฐอเมริกามีความเข้มแข็งและความอดทนสูง แต่หากถูกบังคับให้ต้องปกป้องตนเองหรือพันธมิตร เราก็จะไม่มีทางเลือกนอกจากการทำลายเกาหลีเหนืออย่างสิ้นเชิง”

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าหากเกาหลีเหนือคุกคามสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะ “เผชิญหน้ากับไฟและความโกรธอย่างที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน” นอกจากนี้เขายังทวีตว่าคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ นั้น “แข็งแกร่งและมีพลังมากกว่าที่เคยในตอนนี้”

วุฒิสมาชิก Bob Corker สมาชิกพรรคริพับลิกันและประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาผู้ทรงอำนาจได้กล่าวในวันที่ 8 ตุลาคมว่าพฤติกรรมเสี่ยงของทรัมป์จะทำให้ประเทศชาติ “เดินหน้าสู่สงครามโลกครั้งที่สาม” สิ่งที่ไม่ได้กล่าวก็คือ – หากสงครามดังกล่าวเกิดขึ้น มันอาจเป็นสงครามนิวเคลียร์

ในขณะเดียวกัน ในการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม ทรัมป์ได้ปฏิเสธอย่างรุนแรงต่อการรายงานข่าวบนเครือข่ายโทรทัศน์ของสหรัฐฯ ว่าเขาเรียกร้องให้มีการเพิ่มคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเพิ่มขึ้น 10 เท่า

ตามที่กระทรวงกลาโหมกล่าว ในปัจจุบันสหรัฐฯ มีหัวขีปนาวุธประมาณ 4,000 ชิ้น ซึ่งลดลงจากจำนวนสูงสุด 30,000 ชิ้นในช่วงทศวรรษปี 1960

ตามที่ New York Times ได้ชี้ให้เห็นในบทบรรณาธิการวันที่ 12 ตุลาคม ระหว่างช่วงการหาเสียงประธานาธิบดี ทรัมป์ “สงสัยว่าทำไมอเมริกาจึงมีอาวุธนิวเคลียร์หากไม่นำมาใช้”

ดร. Johnson บอกกับ IDN ว่าทั้งทรัมป์และ และคิม จ็อง-อึนแห่งเกาหลีเหนือเป็นเหมือนวัยรุ่นที่ขี้เมาที่เล่นเกม “ปะทะ” ด้วยการขับรถเร็ว ๆและโอ้อวดต่อผู้ติดตามของตนในขณะที่ทั้งคู่กำลังขับรถดิ่งลงหน้าผา  

เมื่อถูกถามเกี่ยวกับกฎหมายที่ได้รับการเสนอ เธอกล่าวว่า: “ในสถานการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่าจะเป็นประโยชน์หากรัฐสภาสหรัฐฯ สามารถกำจัดปัญหาสำคัญได้ด้วยกฎหมายใหม่นี้ หากพวกเขาสามารถรับเสียงส่วนใหญ่จากทั้งสองพรรค”  

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการดังกล่าวให้สำเร็จในรัฐสภาที่มีพรรคริพับลิกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีสัญญาณที่มองเห็นได้ว่าสมาชิกพรรครีพับลิหลายคนต่อต้านกฎหมายจำนวนมากของทรัมป์อย่างเปิดเผย ซึ่งรวมถึงการห้ามเขาจากการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว

ดร. Johnson กล่าวว่าไม่ว่าข้อจำกัดทางการเมืองดังกล่าวจะมีประโยชน์มากเพียงใด แต่มันก็เป็นเพียงมาตรการรักษาความปลอดภัยที่บอบบางและชั่วคราวในสถานการณ์ที่สหรัฐอเมริกายังคงเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานอาวุธหลายพันชิ้น

เธอชี้ให้เห็นว่าทรัมป์ยังคงมุ่งมั่นในการทำลายข้อตกลงเกี่ยวกับการลดอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศและข้อตกลงด้านความมั่นคงที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และป้องกันไม่ให้มีการซื้อขายหรือใช้มันอีกต่อไป  

อันดับแรก สหรัฐฯ ได้ยกเลิกสนธิสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งใช้โดย 122 รัฐในวันที่ 7 กรกฎาคม และในขณะนี้ทรัมป์ก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการทำลายข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่านซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนได้ ดังนั้นจึงเป็นการเอื้อให้กับกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการให้อิหร่านพัฒนาความสามารถด้านนิวเคลียร์เช่นเดียวกับเกาหลีเหนือ เธอกล่าวเสริม 

เมื่อถูกถามถึงกฎหมายที่กำลังรอการอนุมัติ ดร. M.V. Ramana ผู้ดำรงตำแหน่ง Simons Chair ในด้านการปลดอาวุธ ความมั่นคงของมนุษย์และสากลที่คณะนโยบายสาธารณะและกิจการทั่วโลก มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย บอกกับ IDN ว่า: “ผมคิดว่านี่เป็นความพยายามที่สำคัญ ไม่ใช่เพราะมันมีโอกาสที่จะผ่าน แต่เป็นเพราะมันอาจเป็นตัวแทนของการเปิดการสนทนาเกี่ยวกับการจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคน ไม่เพียงแต่ดอนัลด์ ทรัมป์เท่านั้น เพื่อไม่ให้ยิงอาวุธนิวเคลียร์ที่มีผลกระทบร้ายแรงไม่ว่าจะเพียงหนึ่งลูกหรือมากกว่านั้นก็ตาม”

ความสามารถในการควบคุมอำนาจทำลายล้างดังกล่าวไม่ควรอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะมันเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้อาวุธนิวเคลียร์ไร้ความเป็นประชาธิปไตย กล่าวโดยศาสตราจารย์ Ramana ผู้เขียน The Power of Promise: Examining Nuclear Energy in India (พลังแห่งสัญญา: การตรวจสอบพลังงานนิวเคลียร์ในอินเดีย)

กฎหมายที่ได้รับการเสนอ H.R. 669 และ S. 200 นั้นมีชื่อว่า การจำกัดการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรกแห่งปี 2017

ตามการอ้างถึง สมาชิกรัฐสภา Lieu ได้กล่าวว่า: “เป็นความจริงที่น่าสยดสยองที่ในตอนนี้สหรัฐฯ มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ในเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ และระบุว่าเขาปรารถนาที่จะทำให้อาวุธนิวเคลียร์นั้น ‘ไม่สามารถคาดเดาได้’ และเป็นประธานาธิบดีที่ได้ทำการแถลงจำนวนมากเกี่ยวกับนโยบายนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ผ่านทาง Twitter รัฐสภาต้องดำเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงของโลกโดยการจำกัดสถานการณ์ที่สหรัฐฯ อาจเป็นประเทศแรกที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์”

“ผู้ก่อตั้งของเราได้สร้างระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องใช้มาตรฐานดังกล่าวต่อภัยคุกคามซึ่งเกิดขึ้นจากสงครามนิวเคลียร์ที่อาจทำให้อารยธรรมมนุษย์สิ้นสุดลงได้ ผมมีความภูมิใจที่จะแนะนำพระราชบัญญัติการจำกัดการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรกแห่งปี 2017 พร้อมกับวุฒิสมาชิก Markey เพื่อปรับนโยบายการยิงอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศของเราให้เข้ากับรัฐธรรมนูญ และทำงานเพื่อให้โลกนี้ปลอดภัยยิ่งขึ้น”

วุฒิสมาชิก Markey กล่าวว่า: “สงครามนิวเคลียร์ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความอยู่รอดของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เสนอว่าเขาจะพิจารณาการโจมตีทางนิวเคลียร์ต่อผู้ก่อการร้าย โชคไม่ดีที่นโยบายของสหรัฐฯ ให้อำนาจดังกล่าวแก่เขาด้วยการรักษาตัวเลือกในการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรกเมื่อเกิดความขัดแย้ง ในช่วงวิกฤติกับประเทศอื่น ๆ ที่มีอาวุธนิวเคลียร์ นโยบายนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเพิ่มความรุนแรงด้านนิวเคลียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ”

“ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีคนอื่นใดต่างไม่ควรได้รับอนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ ยกเว้นในการตอบโต้การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น เมื่อมีการจำกัดการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรก กฎหมายฉบับนี้จึงได้แสดงหลักการอันเรียบง่ายดังกล่าวไว้ในรูปแบบกฎหมาย” เขากล่าวเสริม

ในงานแถลงข่าวในบอสตันเมื่อวันที่ 14 เดือนสิงหาคม 2017 Markey บอกกับนักข่าวว่า: “ไม่มีประธานาธิบดีคนใดที่ควรมีอำนาจในการยิงการโจมตีนิวเคลียร์เป็นฝ่ายแรกโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา การโจมตีดังกล่าวจะผิดศีลธรรม ไม่สมส่วนและทำให้สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามต่อการแก้แค้นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ที่อาจเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของชาวอเมริกันและอารยธรรมมนุษย์”

ดร. Johnson กล่าวว่า: “เนื่องด้วยความไม่รู้ ทรัมป์ดูเหมือนจะคิดว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธขนาดใหญ่ที่น่าตื่นเต้นสำหรับการโอ้อวดอำนาจของอเมริกาและแสดงความเป็นชายของเขา ในขณะที่ยังครอบครองทรัพย์สินที่มีมนต์ขลังซึ่งเรียกว่าการป้องปราม ซึ่งมันทำให้เขาเป็นผู้ที่ไม่มีใครต่อต้านและเอาชนะได้”

เธอกล่าวว่า การขู่ว่าจะใช้อาวุธนั้นควรจะส่งผลในการป้องปราม แต่การป้องปรามก็ไม่ใช่เวทมนตร์ มันเป็นรูปแบบการป้องกันที่ใช้ได้เฉพาะเมื่อมีการสื่อสารที่ชัดเจนและไม่มีความเสี่ยงจากการคำนวณผิด ความผิดพลาดหรือข้อผิดพลาดทางการเมืองหรือทางเทคนิค  

“แต่เขาไม่ได้เป็นคนเดียวที่อยู่ในภาพลวงตาเกี่ยวกับการป้องปรามนิวเคลียร์เหล่านี้ เนื่องจากมันได้รับการใช้เพื่อเป็นเหตุผลให้เก้าประเทศยังคงรวบรวมอาวุธนิวเคลียร์ไว้ได้ 15,000 ชิ้น ด้วยเหตุนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ICAN จึงได้ช่วยระดมกำลังให้กับรัฐบาลและประชาสังคมเพื่อบรรลุสนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ โดยแสดงให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย อีกทั้งผลกระทบต่อมนุษยชาติอันน่ากลัวและผลกระทบซึ่งจะสร้างภัยคุกคามต่อโลก หากอาวุธที่น่าสยดสยองเหล่านี้ได้รับการใช้ในสงคราม” 

เธอแถลงว่า ข้อความพื้นฐานก็คือไม่มีใครที่จะรักษาอาวุธที่ไม่ปลอดภัยและมีกำลังทำลายล้างสูงเหล่านี้ไว้ให้ปลอดภัยได้ ขณะนี้สนธิสัญญาห้ามไม่ให้ทำเช่นนั้น  

“เราควรพิจารณาให้การใช้และการขู่ว่าจะใช้อาวุธดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยมีผลเหมือนกับการเตรียมการประกอบอาชญากรรมสงครามและการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ สนธิสัญญาจะกำจัดภาพลวงตาใด ๆ ในด้านสถานะหรือค่านิยม ดังนั้นสหรัฐฯ เกาหลีเหนือ รัสเซียและประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์อื่น ๆ ทั้งหมดจะต้องเข้าร่วมและเริ่มกำจัดอาวุธในคลังแสงของตน และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่เราทุกคนต่างเผชิญอยู่” [IDN-InDepthNews – 16 ตุลาคม 2017]

ขอขอบคุณรูปภาพจากฝ่ายบริหารการรักษาความปลอดภัยนิวเคลียร์แห่งชาติ / สำนักงานพื้นที่เนวาดา

Search

Newsletter

Report & Newsletter

Toward a World Without Nuclear Weapons 2022

Scroll to Top